นิทานเจ้าตู่ (Ubuntu) : ตอนที่ 8 Closed Source - Open Source

Linux

นิทานเจ้าตู่ (Ubuntu) : ตอนที่ 8 Closed Source - Open Source

ประมาณ 8 ปีที่ผ่านมา

1 min read

Table of Contents

เมื่อทุกคนเห็นความสามารถของ เจ้า P แล้วต่างก็เต็มใจฟังคำสั่งการของเขา และการทำงานของระบบโดยรวมก็เร็วขึ้นด้วย ไม่รู้ว่าที่ XP มีซอฟแวร์แบบนี้หรือป่าว ก็เลยให้น้องจิ้งจอกไปบนเน็ตถามดู ก็ได้ความมาว่า บริษัทที่เล็กๆ อ่อนๆ ก็ได้ประกาศว่า XP ก็มีความสามารถในการบันทึกการใช้งานของผู้ใช้งาน ซอฟแวร์ไหนที่ใช้งานบ่อยๆ ก็จะเปิดได้เร็วขึ้น แต่ที่แปลกใจก็คือ หลังจากนั้น5ปี ลูกของ XP ที่หน้าตาดีกว่า ที่ชื่อว่า Vista เปิดตัว บริษัทก็ยังประกาศอยู่ว่า vistaได้เพิ่มระบบบันทึกการใช้งานของผู้ใช้ ซอฟแวร์ที่ใช้บ่อยๆ จะเปิดเร็วขึ้น ก็ไม่รู้ว่าสรุปว่าเพิ่มหรือไม่เพิ่มกันแน่ แต่ที่แน่ๆ ก็คือ ระบบของบริษัทเล็กๆ อ่อนๆ ยิ่งใช้ยิ่งช้าเนี่ยเรื่องจริง ทำไมถึงช้าเหรอ ฉันก็ไม่รู้ เพราะมันเป็น Closed Source! ว่าแล้วต้องถามว่าอะไรคือ Closed Source

อะไรคือ Closed Source? ก็คือไม่มีการเปิดเผยSource Code นั้นเองคับ เรารู้กันว่าซอฟแวร์เกิดขึ้นได้โดยที่นักพัฒนาเขียน Code ที่ละบรรทัดๆ จึงได้มา ไม่ว่าจะเป็นภาษา C หรือ Javaก็ดี แล้วที่เป็นบรรทัดๆ นี้เรียกว่า Source Code เมื่อมี Source Code ก็จะสามารถรู้ถึงโครงสร้างทั้งหมดของซอฟแวร์ตัวนี้ว่าทำงานยังไง แต่ Source Code ยังทำงานไม่ได้ หรือ Run ต้องเปลี่ยนSource Code เป็น Binaryที่สามารถRun ได้ก่อน และขั้นตอนนี้เรียกว่า Complier เมื่อ Source Code ผ่านขั้นตอน Complier แล้ว ถึงจะRun ได้ แต่เมื่อComplier แล้วก็จะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าโครงสร้างภายในเป็นอย่างไร อย่างซอฟแวร์ที่เราโหลดมาใช้งาน ต่างก็เป็นซอฟแวร์ที่ Complier เสร็จแล้วทั้งนั้น อยากได้ Source Code เหรอ? ขอโทษ ไม่ได้ นี่เป็นความลับของบริษัท จะให้คุณได้ไง? ให้คุณแล้วบริษัทจะอยู่ไง ซอฟแวร์ที่ไม่เปิดเผย Source Code แบบนี้เรียกว่า Closed Source ยกตัวอย่าง เช่น KFC ปีกไก่ทอด ใครไปซื้อก็ได้ แค่จ่ายสตางค์ก็พอ แต่สูตรไม่มีใครรู้ (ถึงแม้ว่าจะไม่อร่อยเท่าไรเหอะ…มั้ง) สูตรก็เหมือน Source Code ปีกไก่ทอดก็คือ Binary ซอฟแวร์ที่ Complier เสร็จแล้ว ขั้นตอนการทำก็เหมือนตอน Complier นั้นแหละ หากมีสูตร (Source Code) คุณก็สามารถทำปีกไก่ทอดเองได้ (ใช้ Source Code แล้ว Complier ออกมาเป็น Binary) หรือแม้แต่ปรับสูตรได้ตามใจชอบ (แก้ไขSource Code ตามความชอบของตนเอง)

งั้นมี Closed Source แล้วมี Open Source หรือเปล่าละ? ยินดีด้วยคุณตอบถูกแล้ว Linux ก็คือโอเอสที่ Open Source

Open Source คืออะไร? Open Source ก็คือการแบ่งปัน ยกตัวอย่างอีกอย่าง มีอยู่วันหนึ่ง คุณรู้ว่าตอนทอดไข่ใส่นมลงไปหน่อยจะทำให้อร่อยขึ้น คุณได้นำสูตรนี้ไปบอกกับเพื่อนๆ แล้วเพื่อนๆ คุณก็รู้สูตรนี้ นี้ก็คือ Open Source หรือคุณอาจจะไม่บอกใคร เก็บเป็นความลับ แล้วไปขอลิขสิทธิ์ แล้วไปเปิดร้านขาย แบบนี้เรียกว่า Closed Source มันก็ไม่มีใครถูกใครผิด แต่อยู่ที่ความคิดของแต่ละบุคคล

ขอบคุณต้นฉบับจากท่าน pisit ณ บ้าน ubuntuclub.com มากครับ ที่ใจดีให้เนื้อหามาแปะที่บล็อกผม

Tags:

นิทานเจ้าตู่ Ubuntu