นิทานเจ้าตู่ (Ubuntu) : ตอนที่ 7 Preload

Linux

นิทานเจ้าตู่ (Ubuntu) : ตอนที่ 7 Preload

มากกว่า 8 ปีที่ผ่านมา

2 min read

Preload ครั้งนี้เจ้านายใช้ให้ APT ไปหาซอฟแวร์ตันหนึ่ง ชื่อว่า Preload เจ้าaptเปิดสมุดเล่มหนาๆ พอหาข้อมูลของ preload แล้วก็รายงานกับเจ้านายว่า เครื่องมือที่ต้องใช้ในการทำงานของ preload ที่เรามีหมดแล้ว สามารถเชิญมาทำงานได้เลย แล้วพอได้รับอนุญาตจากเจ้านายแล้วก็ ไป! “สิ่งที่กว้างใหญ่กว่าทะเลคือท้องฟ้า สิ่งที่กว้างใหญ่กว่าท้องฟ้าคือจิตใจของมนุษย์” ขนาด 500g ไม่ถือว่าใหญ่มาก โลกที่อยู่นอกห้องเรานั้นใหญ่ว่ามาก นั้นก็คือ Internet โอเอสตัวเดียวจะไม่มีความหมายเลยหากไม่มี Internet ต้องมี Internet เท่านั้นถึงจะทำให้โอเอสทำงานได้อย่างเต็มที่ ยิ่งสำหรับฉันแล้วด้วย ที่มี APT เป็นผู้ช่วยอย่างฉัน APT สามารถบันทึกข้อมูลของซอฟแวร์จากInternetได้ทั้งหมด พออยากได้ตัวไหนแค่บอกมันว่า “ฉันอยากได้ซอฟแวร์ตัวนี้” APT ก็จะจัดการให้ ทั้งDownload ทั้งติดตั้ง ไม่ต้องให้ฉันทำอะไรเลย เขาทำให้เรียบร้อย แต่หากไม่มีinternet aptก็ใช้ว่าจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย อย่างน้อยก็ยังสามารถจัดการซอฟแวร์ที่อยู่บน CD ได้ แต่ความจุแค่ CD ฉันก็จัดการได้ จะเอาซอฟแวร์อะไรหาเองก็ไม่ยากเท่าไร มันก็ไม่สามารถแสดง “This APT has Super Cow Powers” ของ APT ได้อะดิ นอกจาก APT ยังมีอีกหลายซอฟแวร์ที่ขาด Internetไม่ได้ อย่าง น้องจิ้งจอก ถ้าไม่มี Internet น้องเขาก็คงต้องถูกพักงานเลยละ พูดถึง Internet มันเป็นโลกที่สนุกมาก มีอะไรมากมาย แต่หากซอฟแวร์ไหนจะดึงข้อมูลจากInternet ก็ต้องรู้จักวิธีคุยกันทางInternetด้วย เราเรียกกันว่า Protocol ซอฟแวร์ที่รู้จัก HTTP Protocol ก็สามารถดู Web-Page ได้ หากซอฟแวร์ที่รู้จัก FTP Protocol ก็สามารถส่งข้อมูลได้ แต่ที่พูดมาทั้งหมดเป็น Upper Level Protocol แต่สำหรับ Lower Level Protocol ซอฟแวร์ที่เล่นInternet ได้ทุกตัวต้องเป็นหมด มันก็คือ TCP/IP Protocol นั้นแหละ APT ก็รู้จัก Protocol นี้ เขาก็เลยสามารถใช้ Internet ไปหาซอฟแวร์ได้ แค่พริบตา APT ก็ได้เชิญ Preload มาเรียบร้อยแล้ว แล้วก็ติดตั้งแล้วด้วย พอเสร็จงาน ดูๆไม่มีงานอย่างอื่น เขาก็กลับไปนอน พูดถึงเจ้าPreload นี้ฉันยังไม่เคยเห็นมันเลย ไม่รู้ทำอะไรได้บ้าง มีความสามารถตรงไหน แต่เจ้านายเชิญมา ก็คงจะมีประโยชน์ของมันเองมั้ง ชื่อมันอ่านยากนะ ยาวไป เอาเป็นว่าเรียกมันว่าเจ้า P ละกัน เจ้า P ดูท่าจะขยันนะ พอมาถึงก็วิ่งไปทำงานที่ Ram พอดีเลยฉันก็อยากรู้ว่าเขาทำอะไรได้บ้าง แต่ที่ไหนได้เขาไม่ได้ทำไรเลย นั่งดูคนอื่นทำงาน แล้วก็เอาสมุดเล่มหนึ่งมาจดๆๆ จนถึงปิดเครื่อง ทุกคนก็ไปนอนหมด เขาก็ไม่ได้พูดอะไร อีกวันพอเปิดเครื่อง มันก็วิ่งไปที่ Ram ก่อนใครเลย แล้วก็นั่งดูคนอื่นทำงาน ถือสมุดเล่มเดิม ไม่พูดไม่จา จนถึงปิดเครื่อง ทำงี้ไป วันที่ 3 วันที่ 4… เจ้านี้มาจากไหน ?

วันนี้ตื่นมาทำงานตามปกติ ก็เห็นเจ้า P วิ่งเข้าไปที่ Ram ตามปกติ ก็นึกว่ามันจะดูอยู่เฉยๆ ตามเคย แต่ที่ไหน ได้เขากลับมาพูดว่า Firefox ตื่นเร็ว เตรียมตัว น้องจิ้งจอกตื่นมาอย่างงงๆ แล้วมองมาที่ฉัน ปกติทุกครั้งจะเป็นฉันไปบอกน้องเขา ฉันก็มองเจ้า P อย่างงงๆ เจ้านายยังไม่ได้เรียกใช้ Firefox นี่น่า ทำไมถึงเรียกให้มาทำงานแล้วละ แต่เมื่อถูกปลุกให้ตื่น น้องจิ้งจอกก็ไม่นอนละ เดินเข้ามาที่ Ram แล้วก็มองเจ้า P เจ้า P ก็เฉยๆ ไม่รู้สึกรู้สาอะไร แล้วก็พูดต่อว่า Audacious ตื่น เตรียมตัว Audacious เป็นซอฟแวร์ Multimedia ตัวหนึ่ง เขาสามารถใช้ Sound Card ร้องเพลงเพราะๆ ให้เจ้านายฟัง พอ Audacious ถูกปลุกให้ตื่นก็เข้าไปใน Ram ไปยืนอยู่กับน้องจิ้งจอก กำลังจะถามว่าเกิดอะไรขึ้น ตอนนั้น เจ้านายก็บอกว่าจะดูเว็บ ฉันมองไปที่น้องจิ้งจอก น้องเขาก็ทำงานอย่างรวดเร็ว ตอนที่ฉันหันไปมองน้องเขา น้องเขาก็อยู่ในสถานะทำงานแล้ว ก็ดีนะ ไม่ต้องเสียเวลาไปเรียกน้องเขาอีก ตอบสนองเร็วขึ้นมาก เจ้านายพอในมาก พอผ่านไปไม่นาน เจ้านายก็จะเรียก Audacious อีก ทุกอย่างเป็นไปตามที่เจ้า P คาดไว้เลย

อ๋อ! หลายวันผ่านมานี้ เจ้า P บันทึกนิสัยการใช้งานของเจ้านายอยู่ตลอด พอได้ข้อมูลมามากพอแล้ว ก็สามารถรู้ได้ว่าซอฟแวร์ตัวไหนที่เจ้านายใช้บ่อยๆ ตัวไหนใช้ไม่บ่อย พอมีเจ้า P แล้ว การตอบสนองโดยรวมของระบบเร็วขึ้น นี้ก็คือความสามารถของเขา นี่! ก็คือคุณค่าของเขา ในโลกนี้ ไม่มีซอฟแวร์ไหนที่ไม่มีประโยชน์

ขอบคุณต้นฉบับจากท่าน pisit ณ บ้าน ubuntuclub.com มากครับ ที่ใจดีให้เนื้อหามาแปะที่บล็อกผม

Tags:

นิทานเจ้าตู่ Ubuntu