นิทานเจ้าตู่ (Ubuntu) : ตอนที่ 5 อะไรคือการจัดเรียงข้อมูล

Linux

นิทานเจ้าตู่ (Ubuntu) : ตอนที่ 5 อะไรคือการจัดเรียงข้อมูล

มากกว่า 8 ปีที่ผ่านมา

1 min read

นักเรียนนั่งให้เรียบร้อย ปิดมือถือด้วย เอาละ จะเริ่มพูดกันถึงอะไรคือการจัดเรียงข้อมูล ฮาร์ดดิสก์ ก็คือพื้นที่ที่ให้โปรแกรมอย่างเราอยู่ เราใช้วิธีที่ต่างกันในการจัดการกับพื้นที่ตรงนี้ อย่างที่เคยพูดไป เช่น Ext3, Xfs หรือNTFS ที่ XP ใช้อยู่ การใช้ฮาร์ดดิสก์ก็คือ เอาข้อมูลใส่เข้าไป นักเรียนก็คิดว่าฮาร์ดดิสก์เป็นบ้าน ข้อมูลก็เป็นกล่องๆ ที่เอามาไว้ในบ้าน บนกล่องทุกกล่องก็เขียนชื่อไว้ นั้นก็คือชื่อไฟล์ เข้าใจนะ โอเอสอย่าง XP จะชอบเรียงทุกกล่องไว้ชิดๆกัน ซ้ายขวาบนล่างชิดกันหมด แบบดูไปมันเป็นระเบียบดี และใช้พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีนักเรียนบอกว่าบ้านหนูก็จัดแบบนี้ แบบนี้ดีนะคับเป็นระเบียบดี แต่สำหรับโอเอสแล้ว ทำแบบนี้ก็มีข้อดี แต่ก็มีปัญหาอยู่เหมือนกัน เช่น เริ่มแรกเก็บข้อมูลอยู่ข้อมูลหนึ่ง ก็คือเอากล่องมากล่องหนึ่ง สมมุติว่าเป็น “บันทึกประจำวัน” XP นำกล่องนี้ไปเก็บชิดกำแพง แล้วก็เก็บข้อมูลอีกมากมาย แล้วก็เอากล่องพวกนี้ไปกองรวมกันกับ “บันทึกประจำวัน” อยู่ๆวันหนึ่ง “บันทึกประจำวัน” ได้ถูกแก้ไข เพิ่มอะไรเข้าไปนิดๆ หน่อยๆ มันก็เหมือนเอาของใส่เข้าไปในกล่อง แต่กล่องที่เก็บก็ได้เต็มแล้ว ก็ต้องขยายกล่อง หรือไม่ก็ต้องเอามาอีกกล่องเขียนชื่อให้เหมือนกัน แล้วเอาไปไว้ใกล้ๆ กัน แต่รอบๆ กล่อง “บันทึกประจำวัน” ก็มีกล่องเต็มไปหมดไม่มีที่จะเก็บ ทำไง! ย้ายกล่องที่กองอยู่ออกไปหน่อย ก็เข้าไปได้แล้ว ถ้ากล่องที่กองอยู่รอบๆ มีไม่เยอะก็ยังไม่มีอะไร ถ้ามันเยอะๆ แล้วก็ใส่แต่ของหนักๆ ละ กว่าจะยกออกได้ เหนื่อยตายพอดี แล้วจะเอาไงดีละ ก็คงต้องเอาข้อมูลใหม่ใส่ในกล่องที่เล็กลงอีกกล่องแล้วไปเก็บไว้ที่อื่น แล้วก็ไปเขียนที่กล่องแรกว่า “บันทึกประจำวัน (ส่วนแรก, ส่วนที่สองเก็บไว้ที่ห้องรับแขก)” แล้วที่กล่องใหม่ก็เขียนว่า “บันทึกประจำวัน (ส่วนที่สอง, จบ)” ถ้าหากเวลานานๆ เข้า กล่องส่วนที่สองก็ได้ถูกกล่องอื่นๆ กองมิด แล้วก็ต้องการแก้ไขข้อมูลส่วนนี้อีกมันก็ต้องใหญ่ขึ้น ก็ต้องทำแบบเดียวกันกับกล่องที่สาม…สี….ห้า จนวันหนึ่งคิดจะอ่านข้อมูลตัวนี้ ทีนี้ตายแน่ ก่อนอื่นก็ต้องไปเปิดกล้องแรก แล้วดูว่าส่วนที่สองอยู่ไหน พอเปิดกล่องที่สอง ก็ดูว่ากล่องที่ สาม สี่ ห้า ………………..กล่องที่ สองร้อยสี่สิบ กว่าที่ XP จะเอากล่องออกมาให้หมดก็เหนื่อยลิ้นลากพื้นไปแล้ว นี่แหละที่จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานเป็นอย่างมาก

ขอบคุณต้นฉบับจากท่าน pisit ณ บ้าน ubuntuclub.com มากครับ ที่ใจดีให้เนื้อหามาแปะที่บล็อกผม

Tags:

นิทานเจ้าตู่ Ubuntu