Linux

โชว์ Linux ASCII logo พร้อมข้อมูลเครื่องผ่าน Terminal

สำหรับใครที่ใช้ Linux มาสักระยะ จะเห็นว่า การสั่งงานต่างๆ บน Linux โดยใช้ Terminal มันช่างรวดเร็วทันใจดีจริงๆ ต่างจากสั่งผ่าน GUI ด้วยความที่หลายๆ อย่างมันอยู่บน Terminal เวลาเราจะดูข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูล CPU RAM หรือ แม้แต่ Distro ที่ใช้ จะดีไม่น้อยถ้าสามารถดูผ่าน Terminal ได้เลย ซึ่งในบทความนี้ ผมจะแนะนำโปรแกรมที่สามารถดูข้อมูลเหล่านั้นได้ง่ายๆ ผ่าน Terminal

28 กันยายน 20212 นาที
0
โชว์ Linux ASCII logo พร้อมข้อมูลเครื่องผ่าน Terminal
Table of Contents

ก่อนไปใช้ถึงการใช้โปรแกรมเราสามารถใช้คำสั่ง uname -a เพื่อดูข้อมูลของ kernel ได้

Bash Logo
uname -a

หรือถ้าจะหา Linux distro version สามารถใช้คำสั่งข้างล่างนี้ได้เลย

Bash Logo
lsb_release -a
Bash Logo
cat /etc/*-release

มาถึงตรงนี้ คำสั่งข้างบนอาจจะได้ข้อมูลที่ยังไม่เพียงพอ งั้นเราไปดูที่โปรแกรมแรกกันเลย

ScreenFetch

เริ่มด้วย screenfetch ก็เป็นโปรแกรมทที่โชว์ logo ของ linux ที่เราใช้เป็นแบบ ascii logo และยังมีข้อมูลส่วนอื่นประกอบด้วย ไม่ว่าจะเป็น linux distro version, computer model, Linux kernel, uptime, packages, shell, screen resolution, desktop environment, window manager, theme, icons, CPU, GPU, และ RAM. ซึ่งก็น่าจะเพียงพอสำหรับข้อมูลพื้นฐาน

ScreenFetch
Bash Logo
sudo apt install screenfetch
Bash Logo
pacman -S screenfetch
Bash Logo
zypper install screenfetch
Bash Logo
dnf install screenfetch

Neofetch

neofetch ทำหน้าที่แสดงผล เหมือนกันกับ screenfetch ซึ่งรายละเอียดต่างๆ ที่แสดงออกมาก็เรียกได้ว่า แทบจะเหมือนกันเลย ก็ยังเป็นที่ถกเถียงว่า จะใช้อันไหนดีระหว่าง 2 อันนี้ ซึ่งก็เลือกใช้ได้ตามสะดวก แต่ส่วนตัวชอบ neofetch มากกว่า

Neofetch
pacman -S neofetch

Archey

หรือถ้าไม่อยากใช้ทั้ง neofetch และ screenfetch เจ้า archey ก็เป็นอีกทางเลือก เพราะแสดงรายละเอียดของข้อมูลต่างๆ เหมือนกันกับ neofetch และ screenfetch เลย

ScreenFetch
git clone https://aur.archlinux.org/packages/archey4/ && makepkg -is

Linux_logo เป็นอีกโปรแกรมที่ไว้โชว์ logo ของ Linux พร้อมข้อมูลนิดๆ หน่อยๆ ซึ่งจุดเด่นก็จะอยู่ตรง โชว์ logo เท่ๆ นี่แหละ

Linux_logo
sudo pacman -S linux_logo

ก็จบลงไปแล้วสำหรับโปรแกรมที่ไว้โชว์ logo และข้อมูลต่างๆ บน Linux ซึ่งท่านใดชื่นชอบตัวไหนเป็นพิเศษก็เลือกใช้ได้ตามสะบาย หรือหากท่านใดมีตัวอื่นที่อยากจะเสริม ก็แนะนำกันเข้ามาได้เลยนะครับ สำหรับบทความนี้ผมก็ขอจบไว้เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ

คลิกเพื่อแสดงความคิดเห็น