Free Software

Linux

Free Software

ประมาณ 8 ปีที่ผ่านมา

1 min read

บทความนี้มีต้นฉบับมาจากเว็บ linuxthailand.org ซึ่งตอนนี้เข้าไม่ได้ ผมเห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์เลยขอนำมาอัพไว้ที่เว็บนี้ เผื่อท่านใดสนใจที่จะอ่านมัน ซึ่งหากทีมงานหรือเจ้าของบทความเห็นว่าไม่เหมาะสม ผมยินดีนำบทความนี้ออกให้ครับ

คำจำกัดความของคำว่า Free Software

เราเน้นคำว่า Free Software นี้ก็เพื่อที่ว่าเราจะได้แยกแยะออกว่า อันไหนเป็นโปรแกรมที่เรียกว่า Free Software อย่างแท้จริง Free Software นั้นเป็นเรื่องของเสรีภาพ ไม่ใช่เรื่องของราคา เพื่อให้เข้าใจคอนเซปต์มากยิ่งขึ้น คุณควรจะนึกถึงเสรีภาพ หรืออิสรภาพในการพูด ไม่ใช่เบียร์ฟรี

Free Software นั้นเป็นเรื่องของเสรีภาพที่จะ run, copy, แจกจ่าย, ศึกษา, เปลี่ยนแปลงและพัฒนาซอฟแวร์ให้ดีขึ้น ถ้าจะพูดให้ชัดก็คือ มันเน้นถึงเสรีภาพที่ผู้ใช้ซอฟแวร์จะได้รับ 4 อย่างด้วยกัน คือ

  1. อิสระที่จะ run program เพื่อจุดประสงค์อะไรก้อได้
  2. อิสระที่จะเรียนรู้วิธีการทำงานของโปรแกรม และปรับเปลี่ยนมันให้เป็นไปตามอย่างที่คุณต้องการ โดยที่ให้ใส่ Access ให้กับ source code ก่อนถึงจะเปลี่ยนแปลงได้
  3. อิสระที่จะแจกจ่าย copy เพื่อให้คุณสามารถช่วยเหลือเพื่อนของคุณได้
  4. อิสระที่จะพัฒนาโปรแกรม และนำสิ่งที่คุณพัฒนาออกสู่สายตาประชาชน เพื่อที่จะให้สังคมได้รับประโยชน์จากโปรแกรมที่คุณพัฒนา และแน่นอนว่าต้องเข้าไปใส่ Access ให้กับ source code ก่อนถึงจะพัฒนาโปรแกรมได้

อิสระในการแจกจ่าย รวมถึง ไฟล์ที่รันได้ (exe file) หรือ ไบนารีไฟล์ เช่นเดียวกับซอร์สโค้ด ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ (การแจกจ่ายโปรแกรมที่รันได้ เป็นสิ่งที่จำเป็นในการติดตั้งใน Operating System) มันจะดีถ้าไม่มีสร้างไบนารีไฟล์สำหรับโปรแกรมเฉพาะใดๆ ทั้งนี้ คุณต้องมีอิสระในการแจกจ่ายเช่นเดียวกัน

ในกรณีที่ Free Software มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถเข้าถึงซอร์สโค้ด ของโปรแกรมได้ ดังนั้น การเข้าถึงซอร์สโค้ดจัดเป็นเงื่อนไขสำคัญของ Free Software

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาโปรแกรมคือ การรวมความสามารถใหม่ๆ หรือ ซับรูทีน หรือโมดูล ถ้าโปรแกรมมีลิขสิทธิ์ที่ห้ามคุณรวมโมดูลของคุณกับโมดูลที่มีอยู่แล้ว เช่น ถ้าโปรแกรมต้องการไลเซนส์ คุณจะต้องจำกัดคุณภาพนี้เสีย

ในการทำให้อิสระเหล่านี้เป็นความจริง จะต้องไม่สามารถเพิกถอนได้ ตราบเท่าที่คุณไม่ได้ทำสิ่งใดผิด ถ้านักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถอุทธรณ์ลิขสิทธิ์นั้นๆ โดยไม่ได้รับการอนุญาต ให้ถือว่าโปรแกรมนั้นไม่ใช่ Free Software

อย่างไรก็ตาม การแจกจ่าย Free software จะถูกยอมรับเมื่อไม่มีการขัดแย้งกับอิสระโดยรวม ยกตัวอย่างเช่น คุณไม่สามารถเพิ่มข้อกำหนดใดๆ หรือปฏิเสธใครๆได้

คุณอาจจะต้องจ่ายเงิน หรือได้เงิน สำหรับการคัดลอก free software คุณมีอิสระที่จะคัดลอกหรือเปลี่ยนแปลงโปรแกรมหรือแม้กระทั่งขายโปรแกรม

Free Software ไม่ได้หมายถึงการทำกุศล กระนั้นก็ยังสามารถใช้ในองค์กรธุรกิจ การพัฒนาทางธุรกิจ หรือการแจกจ่ายทางธุรกิจ

โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมฟรี และคุณสามารถแจกจ่าย copy ไปให้คนอื่นได้ด้วย ทั้งแบบที่ดัดแปลงข้อมูล หรือไม่ได้ดัดแปลงข้อมูล ให้กับใครที่ไหนก็ได้ โดยที่เราไม่ต้องขออนุญาต หรือเสียค่าลิขสิทธิ์ใดๆ

Software อื่นๆ

คู่มือของซอฟแวร์ต้องฟรีด้วย เพราะว่าคู่มือนั้นเป็นส่วนหนึ่งของซอฟแวร์

คนบางกลุ่มมีความเห็นไม่ตรงกันระหว่าง Open Source กับ Free Software ว่าควรจะใช้คำไหนดี

เพราะทั้งสองอย่าง ก็มีคู่มือให้ฟรี ซึ่งสามารถใช้ศึกษา ให้ข้อมูล ได้อย่างอิสระ และอ้างอิงได้เหมือนกัน Wikipedia คือตัวอย่างที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด

Open Source

กลุ่มผู้ใช้ จะชอบใช้คำว่า Free Software มากกว่า เพราะถ้าได้ยินคำว่าฟรี จะรู้สึกว่ามีอิสระ นำไปใช้ได้เลย ไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องราคา และเรื่องของลิขสิทธิ์ แต่คำว่า Open Source ไม่ได้อ้างถึง Free(Freedom) ทำให้รู้สึกไม่มีอิสระในการใช้เหมือนกับ Free Software

Tags:

linuxthailand