Directory Files ใน Linux

Linux

Directory Files ใน Linux

สวัสดีครับทุกท่าน หลังจากที่ผมได้นำเสนอเกี่ยวกับ Linux ทั้งรีวิว Distro ก็คือรีวิวตัว Linux ในแต่ละตัวนั่นเอง รวมถึงวิธีการติดตั้งต่างๆ อาจจะมีหลายท่านยังสงสัยเกี่ยวกับระบบไฟล์ใน Linux แน่นอนว่ามันค่อนข้างจะเข้าใจยากเหมือนกัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วสำหรับมือใหม่อย่างเราๆ รวมถึงผมด้วย วันนี้เราจะมาดูในแต่ละส่วนกัน ว่ามีอะไร ทำงานและมีความสำคัญอย่างไรกันบ้าง อ้อขอเสริมอีกนิดนึง ระบบไฟล์ Linux จัดแบ่งออกเป็นลำดับชั้นเหมือนต้นไม้กลับหัว.

มากกว่า 8 ปีที่ผ่านมา

1 min read

จุดสูงสุดของระบบไฟล์คือ / หรือ แฟ้มราก (root directory) ความคิดในการออกแบบระบบ Linux ทุกอย่างให้ถือเป็นไฟล์หมดไม่ว่าจะเป็นฮาดดิกส์, ส่วนของฮาดดิกส์, สื่อบันทึกที่ถอดเก็บได้. นั่นหมายความว่าทุกแฟ้มและไฟล์รวมทั้งฮาดดิกส์ตัวอื่นจะอยู่ภายใต้แฟ้มราก (root directory). อ่า! คงจะงงกันใช่ไหม ไม่เป็นไร งั้นดูรูป (ผมไปจิ๊กเค้ามานะ อิอิ)

Directory Files Linux
Directory Files Linux

จากภาพจะเห็นได้ว่า (ดูเป็นทางการจัง) ทุกอย่างจะอยู่ภาพใต้คำสั่ง root ซึ่งลักษณ์แทน root ก็คือ / นั่นก็หมายความว่า ถ้าอยู่ในสิทธิ์ของ root จะสั่งการอะไรคอมพิวเตอร์ก็ย่อมได้ แม้แต่ทำลายตัวเอง (มั้ง ผมไม่เคยลองเหมือนกัน) เอาหละเห็นการทำงานกันแล้ว ต่อไปเรามาดูหน้าที่ของแต่ละอันกันบ้าง

/bin

ย่อมาจาก Binary เป็นไดเร็กทอรีสำหรับเก็ยคำสั่งที่เรียกใช้จากผู้ใช้ โดยส่วนใหญ่เป็นคำสั่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานระบบ และเป็นคำสั่งพื้นฐานที่จำเป็นต่อการใช้งาน Linux ทั่วไป

/boot

ใช้เก็บไฟล์เริ่มต้นหรือ kernel ของ Linux เอง รวมทั้งไฟล์ที่จำเป็นต้องใช้ boot เครื่อง เช่น GRUB (GRand Unified Bootloader) หรือ LILO

/dev

ย่อมาจาก Device ใช้เก็บชื่อไฟล์พิเศษ ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีในระบบ อาทิเช่น tty (Terminal) hda (harddisk) เป็นต้น โดยในแต่ละไฟล์จะเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หนึ่งชิ้น

/etc

เขาบอกว่า et cetera ใช้เก็บ Configuration file ซึ่งใช้สำหรับดูแลรักษาระบบ (System administrator) และไฟล์สคริปต์ที่ใช้ควบคุมการเปิดปิด Service ต่างๆ มักจะอยู่ที่ /etc/init.d

/home

เป็นไดเร็กทอรีสำหรับเก็บข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนยกเว้น root จะเก็บไว้ที่ /root ต่างหาก (คล้ายไฟล์ User ใน Windows เลย)

/lib

Library สำหรับเก็บไลบรารีของโปรแกรมต่างๆ

/lost+found

เป็นไดเร็กทอรีที่ใช้เก็บไฟล์ที่กำลังถูกใช้งานแล้วดิสก์เกิดปัญหา หรือระบบลมโดยไม่ได้มีคำสั่งปิดเครื่องที่ถูกต้อง ซึ่งบางครั้งทำให้ไฟล์ที่กำลังใช้งานเหล่านี้มีปัญหา เมื่อเริ่มการทำงานของระบบใหม่(boot) โปรแกรม fsck ซึ่งใช้ตรวจสอบระบบไฟล์จะเริ่มทำงาน หากพบไฟล์ลักษณะดังกล่าวในระบบไฟล์ใด ก็จะนำไฟล์เหล่านั้นไปไว้ในไดเร็กทอรีดังกล่าว

/media

เป็นไดเร็กทอรีสำหรับ mount อุปกรณ์เก็บข้อมูลต่างๆ เช่น cdrom, thumb drive

/mnt

เป็นไดเร็กทอรีที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์เก็บข้อมูลอื่นๆ

/opt

เป็นไดเร็กทอรีที่ใช้เก็บโปรแกรมส่วนขยายอื่นๆ หรือโปรแกรมประเภท third party software หรือโปรแกรมที่เราเอามา install เอง แต่โดยมากจะเก็บที่ /usr/local มากกว่า

/proc

เป็นไดเร็กทอรีสำหรับเก็บข้อมูลของระบบที่กำลังทำงานอยู่เช่น โปรเซส หรือ สถานะต่างๆของระบบ

/root

เป็น home directory ของ root

/sbin

เป็นไดเร็กทอรีสำหรับเก็บโปรแกรมหรือคำสั่งสำหรับดูแลระบบ โดยมากโปรแกรมที่เก็บอยู่ในนี้ต้องใช้ สิทธิ root หรือต้องใช้ sudo

/tmp

เป็นไดเร็กทอรีที่ใช้เก็บไฟล์ชั่วคราว ไดเร็กทอรีนี้ไม่ว่าผู้ใช้คนใดในระบบสามารถเขียนข้อมูลลงไปได้ และไม่สามารถเก็บข้อมูลได้เมื่อ boot เครื่องใหม่ข้อมูลจะหาย

/usr

เป็นไดเร็กทอรีย่อยที่ใช้เก็บโปรแกรม ไลบรารีต่างๆ หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ติดตั้งเพิ่มเติมลงไป

/var

เก็บไฟล์ที่เปลี่ยนแปลงหรือไฟล์ชั่วคราวต่างๆ ที่สร้างโดยโปรแกรมหรือผู้ใช้ เช่น log ข้อมูล E-mail ข้อมูลการพิมพ์ต่างๆ เป็นไงกันบ้างครับ มีใครยังงงกับระบบไฟล์ใน Linux ไหมเอ่ย ขอบอกเลยว่า ระบบค่อนข้างซับซ้อนมาก และยากกว่าถ้าเทียบกับ Windows แล้ว แต่ความยากนี่แหละที่เป็นจุดแข็งของ Linux ที่ทำให้มีความปลอดภัยสูงกว่า Windows นั่นเอง เอาหล่ะ สำหรับบทความนี้ก็ขอจบไว้เพียงนี้นะครับ เอาไว้เจอกันใหม่บทความหน้าสวัสดีครับผม.

Tags:

Linux Basic