Gnome
ก็ยังได้รับความนิยมตลอดกาลสาหรับ Gnome ถึงขนาด Ubuntu ที่ทิ้ง Unity ไปแล้ว ยังต้องกลับมาซบ Gnome ตามเดิม (ใช้ Gnome แต่แรกก็ดีละ) ซึ่งจุดที่ทำให้ Gnome ยังได้รับความนิยมก็คงจะเป็นเพราะ เป็น DE เก่าแก่ คู่ Linux มานานแถมยังใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก Linux หลายๆ Distro ก็ใช้ Gnome กัน ซึ่งใครที่ชอบสามารถสลับ Distro ไปมา หลายๆ Distro ก็อาจจะไม่ต้องปรับตัวยากเท่าไหร่ ข้อเสียของมันคือ มันแอบกินสเปคเครื่องเยอะกว่าเดิมเหมือนกันนะ ว่ากันว่า กินเยอะกว่า KDE แล้ว
KDE
นี่ก็เก่าแก่ไม่แพ้ Gnome เลย น่าจะเกิดพอๆ กัน ช่วงแรกหน้าตาก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่ แต่ตอนนี้คนละเรื่อง KDE มุ่งเน้นเรื่องความสวยงามเป็นหลัก ซึ่งช่วงที่ KDE 5 ออกใหม่ ผมนี่กลับไปใช้ KDE 4 แทบไม่ทัน เพราะบั๊กกระจาย แต่ตอนนี้เริ่มเสถียรขึ้นมาแล้ว ซึ่งถ้าใครมองหา DE ที่เน้นความสวยงามมาก่อนสิ่งใด คุณไป KDE เลยครับ ถูกใจแน่นอน อีกอย่างตอนนี้ทาง KDE เขาเคลมว่า DE ของเขากินเครื่องน้อยกว่า Gnome อีก อันนี้จริงไม่จริง ต้องพิสูจน์ด้วยตัวคุณเอง
Cinnamon
ก็เป็น DE จาก Linux Mint ที่เน้นเรื่องการใช้งานที่ง่าย คล้ายๆ Windows และเบา ไม่กินเครื่อง Cinnamon ในตอนนี้ไม่ได้มีแค่ใน Linux Mint เท่านั้น Distro อื่นๆ ก็สามารถใช้ได้เหมือนกัน
Pantheon
Pantheon เป็น DE ของ Distro Elementary OS เน้นเรื่องความเรียบง่ายในการใช้งาน บวกกับการปรับแต่งมาให้ใช้งานได้ลื่นไหลมากยิ่งขึ้น จริงๆ ก็แอบคล้าย macOS เหมือนกันนะเนี่ย
Mate
Mate เกิดจากการเอา Gnome 2 มาพัฒนาต่ออีกที เพราะตอนนั้น Gnome2 ถือว่าเบากว่า Gnome 3 ตอนนี้มากๆ ถึงแม้ว่า Mate อาจจะไม่สวยงามสักเท่าไหร่ แต่ลื่นไหลในการใช้งานอย่างแน่นอน
Xfce
Xfce ชูจุดเด่นตัวเองเรื่อง lightweight desktop environment เรื่อง DE ที่มีน้ำหนักเบา หรือแปลง่ายๆ คือไม่กินเครื่องนั่นเอง ซึ่งตอนนี้ผมก็ได้มาปักหลักกับ Xfce แล้ว (ก่อนหน้าผมใช้ Gnome3 แล้วก็มา KDE 5 แล้วก็มา Xfce) หลังจากที่ใช้มาสักพักก็พบว่าเครื่องเก่าๆ แก่ๆ ที่ผมใช้อยู่ นี่ลื่นจริงๆ ส่วนการใช้งาน ก็คล้ายๆ พวก Cinnamon หรือ Mate ถึงแม้ว่า Xfce จะไม่สวยเท่า KDE แต่ถ้าแต่งเพิ่มนิดหน่อยก็พอสู้ได้อยู่นะ
Enlightenment
นี่ก็ DE เก่าแก่อีกตัว ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในเรื่องหน้าตา บวกกับการตั้งค่าต่างๆ ทำได้อย่างอิสระ เรื่องความเร็วการใช้งานไม่ต้องห่วง ไม่แพ้พวก DE อื่นๆ ที่ขึ้นชื่อว่าทำงานได้อย่างรวดเร็วแน่นอน
LXDE
LXDE เป็น DE ที่โคตรจะเบา ถ้านึกไม่ออกให้นึกถึง Xfce แต่เบากว่า ด้วยความที่มันเบา หน้าตาอาจจะไม่ได้สวยงามมากนัก แต่ข่าวร้ายก็คือ Project นี้ไม่ได้ Update มา 3 ปี แล้ว มีแววจะทิ้งร้างแน่ๆ
LXQt
LXQt based on Qt framework เป็น DE แบบ modular ขึ้นชื่อเรื่องความเบา และเรื่องความสวยงาม ดูไปดูมาก็แอบคล้าย KDE เหมือนกันนะ
Budgie
Budgie เป็น DE จาก Linux Solus เน้นเรื่องความสวยงาม ดูหรู ดูแพง ดู Modern อาจจะไม่สวยหวือหวาเหมือน KDE แต่ก็มีความสวยงามในแบบตัวเอง
Deepin Desktop Environment (DDE)
เราสามารถใช้ DE จาก Linux Deepin ได้ ซึ่ง DE ตัวนี้ก็ขึ้นชื่อเรื่องการใช้งานง่ายและความสวยงาม คือมันสวยงามจริงๆ
เป็นยังไงกันบ้างสำหรับ Desktop Environment ใน Linux จริงๆ มีหลายตัวกว่านี้ แต่ผมหยิบตัวที่น่าสนใจ และคาดว่าจะไม่ล้มหายตายจากไปซะก่อน มาให้ดูกัน ก็หวังว่าจะเป็นทางเลือกในการตัดสินใจว่าจะใช้ตัวไหนดี แต่ทางที่ดีแนะนำให้ลองหมดทุกตัวไปเลย (ถ้ามีเวลา) จะได้รู้ว่าเราใช้ตัวไหนแล้วเข้ามือเราที่สุด สำหรับบทความนี้ก็มีเพียงเท่านี้แล้วพบกันใหม่บทความหน้า สวัสดีครับ