Copyleft

Linux

Copyleft

เกือบ 9 ปีที่ผ่านมา

1 min read

Table of Contents

บทความนี้มีต้นฉบับมาจากเว็บ linuxthailand.org ซึ่งตอนนี้เข้าไม่ได้ ผมเห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์เลยขอนำมาอัพไว้ที่เว็บนี้ เผื่อท่านใดสนใจที่จะอ่านมัน ซึ่งหากทีมงานหรือเจ้าของบทความเห็นว่าไม่เหมาะสม ผมยินดีนำบทความนี้ออกให้ครับ

Copyleft

Copyleft (ก๊อปปีเลฟต์) หมายถึงกลุ่มของสัญญาอนุญาต ของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้ง ซอฟต์แวร์ เอกสาร เพลง ศิลปะ โดยอ้างอิงตามกฎหมายลิขสิทธิ์เป็นแนวเปรียบเทียบ ในการจำกัดสิทธิในการคัดลอกงาน และเผยแพร่งาน โดยสัญญาอนุญาตกลุ่ม Copyleft มอบเสรีภาพให้ทุกคน สามารถคัดลอก ดัดแปลง ปรับปรุง และจำหน่ายงานได้ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องยังคงรักษาเสรีภาพเดียวกันนี้ในงานที่ดัดแปลงแก้ไขมาจากงานนี้ โดยเข้าใจกันว่า Copyleft คือสิ่งที่ตรงข้ามกับจุดประสงค์ดั้งเดิมของกฎหมายลิขสิทธิ์นั่นเอง อาจจะมองได้ว่าลักษณะพิเศษของ copyleft คือ การที่เจ้าของลิขสิทธิ์ ยอมสละสิทธิบางอย่าง (ที่ได้รับการคุ้มครอง) ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์, แต่ไม่ทั้งหมด. แทนที่เจ้าของลิขสิทธิ์จะปล่อยงานของเขาออกมาภายใต้ public domain โดยสมบูรณ์ (นั่นคือ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ใดๆ), copyleft จะให้เจ้าของสามารถกำหนดข้อจำกัดหรือเงื่อนไขทางด้านลิขสิทธิ์บางประการ สำหรับผู้ที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในงานอันมีลิขสิทธิ์นี้, โดย ถ้าผู้นั้น ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้แล้ว จะถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์. เงื่อนไขเพื่อที่จะไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภายใต้ copyleft นี้, ได้แก่, การที่ผู้ที่ใช้สอยผลงานจะต้องรักษาสิทธิภายใต้ copyleft นี้ไว้ดังเดิมอย่างถาวร. ด้วยเหตุนี้, สัญญาอนุญาต copyleft จึงถูกเรียกว่าเป็น สัญญาอนุญาตต่างตอบแทน (reciprocal licenses). สัญลักษณ์ของ Copyleft เป็นตัวอักษรซี (c) หันหลังกลับ โดยไม่ได้มีความหมายอะไรเป็นพิเศษนอกจากการตรงกันข้ามกับ Copyright (ลิขสิทธิ์) เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนของไทย ใช้คำภาษาไทยสำหรับก๊อปปี้เลฟต์ว่า “ลิขซ้าย”

ประวัติ

แนวคิดของ copyleft เริ่มจากการที่ ริชาร์ด สตอลแมน ได้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตัวแปลคำสั่งภาษา Lisp (Lisp interpreter) ขึ้นมา. แล้ว บริษัท ที่ชื่อว่า Symbolics ได้ร้องขอที่จะใช้งานตัวแปลคำสั่งนี้, สตอลแมน จึงได้ตกลงที่จะมอบงานชิ้นนี้ให้แก่ บริษัท ภายใต้ public domain คือ ไม่สงวนลิขสิทธิ์. ในเวลาต่อมา บริษัท Symbolics ได้แก้ไขปรับปรุงความสามารถของ ตัวแปลคำสั่งภาษา Lisp ให้ดีขึ้น, แต่เมื่อ สตอลแมน แสดงความต้องการที่จะเข้าถึงส่วนที่แก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมเหล่านั้น ก็ได้รับการปฏิเสธจากบริษัท. ดังนั้นในปี 1984, สตอลแมน จึงได้เริ่มแผนการต่อต้านและกำจัด พฤติกรรมและวัฒนธรรม ของ การหวงแหนซอฟต์แวร์ไว้ (proprietary software) เหล่านี้, โดยเขาได้เรียกพฤติกรรมเหล่านี้ว่า การกักตุนซอฟต์แวร์ (en:software hoarding).

เนื่องจาก สตอลแมน เห็นว่าในระยะสั้น มันคงจะเป็นไปไม่ได้ที่จะ กำจัด กฎหมายลิขสิทธิ์ในปัจจุบันรวมถึงสิ่งที่เขามองว่าเป็นสิ่งผิดปกติ ให้หมดไปอย่างถาวร, เขาจึงเลือกที่จะใช้กลไกของกฎหมายที่มีอยู่มาเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุสิ่งที่เขาต้องการ; เขาได้สร้าง สัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ ในแบบของเขาขึ้นมาเอง, โดยสัญญาอนุญาตที่เขาสร้างขึ้นมา และ ถือเป็น สัญญาอนุญาต แบบ copyleft ตัวแรก คือ Emacs General Public License. ซึ่งต่อมา สัญญาอนุญาต นี้ก็ได้รับการพัฒนาปรับปรุง จนกระทั่งกลายเป็น GNU General Public License (GPL), ซึ่งเป็น สัญญาอนุญาต แบบ ซอฟต์แวร์เสรี ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอันหนึ่ง.

Tags:

linuxthailand