รู้จักกับโอเพนซอร์ส

Linux

รู้จักกับโอเพนซอร์ส

เกือบ 9 ปีที่ผ่านมา

1 min read

บทความนี้มีต้นฉบับมาจากเว็บ linuxthailand.org ซึ่งตอนนี้เข้าไม่ได้ ผมเห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์เลยขอนำมาอัพไว้ที่เว็บนี้ เผื่อท่านใดสนใจที่จะอ่านมัน ซึ่งหากทีมงานหรือเจ้าของบทความเห็นว่าไม่เหมาะสม ผมยินดีนำบทความนี้ออกให้ครับ

โอเพนซอร์ส (Open Source) คือ ซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้ผู้ใช้มีอิสระในการใช้งาน เผยแพร่ และแก้ไขตัวโปรแกรมโดยเปิดเผยรหัส (Source Code) ของตัวโปรแกรมให้กับผู้สนใจทั่วไป ปัจจุบันมีนักพัฒนาซอฟต์แวร์จำนวนมหาศาลจากทั่วโลกช่วยกันพัฒนาซอฟต์แวร์โอเ พนซอร์สผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมากกว่าหนึ่งแสนโครงการ และมีซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สคุณภาพหลายตัวที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง และกำลังใช้งานอยู่ในองค์กรทั่วโลก ตัวอย่างซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่เป็นที่รู้จักได้แก่ ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ และเว็บเซิร์ฟเวอร์ Apache ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดถึง 70 เปอร์เซ็นต์

โอเพนซอร์สเกิดจากการรวมตัวของนักพัฒนาซอฟต์แวร์มืออาชีพ ที่ต้องการทำลายข้อจำกัดในการใช้งานซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ที่มีค่าใช้จ่ายสูง และขาดอิสระในการปรับปรุงแก้ไขตัวซอฟต์แวร์ให้เป็นไปตามต้องการ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สจึงสามารถนำมาใช้ในองค์กรได้ทันทีโดยไม่ต้องห่วงเรื่องข ้อจำกัดทางลิขสิทธิ์ ว่าอนุญาตให้ใช้ได้กี่เครื่องหรือกี่คนเหมือนกับซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สหลายตัวมีคุณภาพและความปลอดภัยมากกว่าซอฟต์แวร์เชิงพาณิ ชย์เสียอีก การเปิดเผยซอร์สโค้ดทั้งหมด ทำให้บุคคลใดๆ ไม่สามารถสร้างรูรั่วเพื่อใช้ประโยชน์ได้ เนื่องจากนักพัฒนาคนอื่นๆ จะคอยตรวจหาช่องโหว่ในซอฟต์แวร์อยู่เสมอ

ปัจจุบันโอเพนซอร์สนิยมใช้ในการทำงานฝั่งเซิร์ฟเวอร์ ผู้ใช้มักไม่รู้ตัวว่ากำลังใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สอยู่ อย่างไรก็ตามมีซอฟต์แวร์ที่เป็นโอเพนซอร์สเกือบทุกชนิด ไม่จำกัดเฉพาะด้านเซิร์ฟเวอร์ สำหรับการใช้งานในองค์กรซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานเอกสาร มีชุดออฟฟิศแบบโอเพนซอร์สชื่อ โอเพนออฟฟิศ (OpenOffice) ซึ่งใช้ทดแทนไมโครซอฟท์ออฟฟิศได้เกือบสมบูรณ์ สามารถเปิดและแก้ไขเอกสารของไมโครซอฟท์ออฟฟิศได้

คนส่วนมากมักเข้าใจผิดว่าซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สนั้นไม่มีลิขสิทธิ์ ซึ่งจริงๆ แล้วโอเพนซอร์สเป็นซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์เหมือนกับซอฟต์แวร์ทั่วไป สิ่งที่ต่างออกไปคือเจ้าของลิขสิทธิ์นั้นอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้หรือป รับปรุงแก้ไขได้อย่างอิสระ ซึ่งเงื่อนไขของแต่ละตัวจะแตกต่างกันเล็กน้อย เช่น บางตัวให้ใช้ฟรีทั้งหมด หรือบางตัวให้ใช้ได้ แต่ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าของซอฟต์แวร์ เป็นต้น

อีกสิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโอเพนซอร์สคือเรื่องค่าใช้จ่าย คนส่วนมากมักเข้าใจว่าโอเพนซอร์สจะฟรีทั้งหมด ในความเป็นจริงแล้วฟรีเฉพาะตัวซอฟต์แวร์เท่านั้น ผู้ใช้ยังเสียค่าใช้จ่ายในด้านอื่นๆ เช่นเดียวกับซอฟต์แวร์ทั่วไป เช่น ค่าใช้จ่ายในการอบรม, ค่าบริการสนับสนุน เป็นต้น

บริการสนับสนุนของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส

ผู้ใช้โปรแกรมสามารถหาบริการสนับสนุนการใช้งาน เช่น การแก้ไขปัญหาหรือการขอคำปรึกษาเพิ่มเติม รวมไปถึงการฝึกอบรมได้ 2 ทางเลือก ดังนี้

ผ่านชุมชนผู้ใช้และผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ตัวนั้นๆ ซึ่งจะมีทั้งข้อมูล ข่าวสาร เอกสารคู่มือ เคล็ดลับในการใช้งานโปรแกรม ในกรณีที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับโปรแกรม สามารถหาคำแนะนำได้จากชุมชนผู้ใช้ ซึ่งส่วนมากเป็นผู้ใช้ที่มีความเชี่ยวชาญ หรือผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เอง วิธีนี้ไม่เสียค่าใช้จ่าย และชุมชนผู้ใช้ซอฟต์แวร์ทุกตัวสามารถเข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ต จากบริษัทผู้ให้บริการดูแลแก้ไขหรือพัฒนาเพิ่มเติมโปรแกรมโอเพนซอร์ส ที่ให้บริการตั้งแต่การติดตั้งไปจนถึงพัฒนาเพิ่มเติมและดูแลรักษาระบบ ถ้าหากเลือกใช้บริการของบริษัทวิธีนี้ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามปริมาณ ของงาน

ประโยชน์ของโอเพนซอร์ส

เป็นซอฟต์แวร์ทางเลือกนอกเหนือจากซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ ลดการพึ่งพาซอฟต์แวร์จากผู้ผลิตเจ้าใดเจ้าหนึ่งเพียงบริษัทเดียว ช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ ทำให้ค่าใช้จ่ายรวมของการนำซอฟต์แวร์มาใช้งานลดลง สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ตรงกับความต้องการขององค์กรได้โดยไม่ต้องรอบริษัทเจ้าของซอฟต์แวร์ดำเนินการให้เหมือนกับซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์

Tags:

linuxthailand