สัมภาษณ์ คุณอวยชัย จากหมู่บ้านลินุกซ์

Linux

สัมภาษณ์ คุณอวยชัย จากหมู่บ้านลินุกซ์

บทสัมภาษณ์คุณอวยชัย จากตำบลสง่าบ้านและตำบลป่าลาน ผู้ผลักดันลินุกซ์ในชุมชน จนเกิดเป็นหมู่บ้านลินุกซ์ขึ้นมา แต่ภาพสวยงามที่เราเห็นกันในตอนนี้ ไม่ได้ว่าจะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ หากแต่จะต้องใช้แรงกายและแรงใจเป็นสำคัญ ที่จะผลักดันให้เกิดเป็นหมู่บ้านลินุกซ์ขึ้นมาได้

เกือบ 9 ปีที่ผ่านมา

2 min read

บทความนี้มีต้นฉบับมาจากเว็บ linuxthailand.org ซึ่งตอนนี้เข้าไม่ได้ ผมเห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์เลยขอนำมาอัพไว้ที่เว็บนี้ เผื่อท่านใดสนใจที่จะอ่านมัน ซึ่งหากทีมงานหรือเจ้าของบทความเห็นว่าไม่เหมาะสม ผมยินดีนำบทความนี้ออกให้ครับ

บทสัมภาษณ์คุณอวยชัย จากตำบลสง่าบ้านและตำบลป่าลาน ผู้ผลักดันลินุกซ์ในชุมชน จนเกิดเป็นหมู่บ้านลินุกซ์ขึ้นมา แต่ภาพสวยงามที่เราเห็นกันในตอนนี้ ไม่ได้ว่าจะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ หากแต่จะต้องใช้แรงกายและแรงใจเป็นสำคัญ ที่จะผลักดันให้เกิดเป็นหมู่บ้านลินุกซ์ขึ้นมาได้ จวบจนถึงทุกวัน ในสายตาผม ผมบอกได้ว่านี่ Success แล้ว จากหยาดเหงื่อแรงงานที่ทุ่มไป บอกได้เลยว่าไม่สูญเปล่า และที่เหลือต่อจากนี้จะเป็นอย่างไรต่อไปนั้นขึ้นอยู่กับคุณ

ลองไปอ่านดูครับ กับบทสัมภาษณ์ครั้งนี้ คุณ อวยชัย ไชยถา

แนะนำตัวหน่อยครับ

ชื่อ อวยชัย นามสกุล ไชยถา ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง IT Manager ของบริษัท โอเพ่นซอร์สโซลูชั่นแอนด์ เทคโนโลยี จำกัด และตำแหน่งหน้าที่ทางสังคม คือเป็นประธานกลุ่มคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต ประจำตำบลสง่าบ้านและตำบลป่าลาน ซึ่งมีแนวคิดในการก่อตั้ง ท้องถิ่นโอเพ่นซอร์ส เพื่อเผยแพร่เทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สให้กับคนในท้องถิ่น และเพื่อเป็นแนวทางให้คนอื่นๆ ได้เกิดแนวคิดในการศึกษา พัฒนาและเผยแพร่โอเพ่นซอร์ส สามารถดูได้ที่เว็บไซด์ oss.nn.nstda.or.th

เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่ ?

แนวคิดเริ่มแรก เกิดขึ้นเมื่อ มีเด็กผู้หญิงข้างบ้าน ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ ICT ซึ่งเครื่องนั้นติดตั้งโปรแกรมลีนุกซ์ทะเลมาให้ ตอนนั้น ผมก็ได้สอนวิธีการใช้งานให้เด็กผู้หญิงคนนั้น ทำให้เด็กผู้หญิงคนนั้น ใช้ลีนุกซ์ทะเล ในขณะที่คนอื่นๆ พากันลบโปรแกรมลีนุกซ์ทิ้งแล้วติดตั้งวินโดวส์แทน ซึ่งในตอนนั้นคนในประเทศไทยของเรา นึกว่าลีนุกซ์ใช้ยาก ไม่น่าใช้ แต่ผมกลับมองเห็นในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่นๆ ว่าถ้าหากไม่มีใครสอนพวกเขาใช้ลีนุกซ์ แล้วจะมีใครที่จะรู้จักใช้ลีนุกซ์

มีแรงบัลดาลใจอะไรถึงคิดทำหมู่บ้านลินุกซ์?

แรงบัลดาลใจที่คิดจะทำหมู่บ้านลีนุกซ์ ต้นเหตุเกิดจากรายการนายกทักษิณพบประชาชน ตอนนั้นท่านได้ให้บริษัทไมโครซอฟต์เข้ามาปลูกฝังเด็กในบ้านเรา ให้ใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์ ผมเองก็ไม่เห็นด้วย การปลูกฝังเด็กให้เติบโตมากับระบบของไมโครซอฟต์ เวลาที่พวกเค้าเติบโตขึ้นมาโตมาจะต้องใช้ซอฟแวร์ของไมโครซอฟต์แทนที่จะปลูกฝัง Opensource เพื่อสอนให้เด็กไทย เกิดทางเลือก เรียนรู้ที่จะพัฒนาเทคโนโลยีของตนเอง พึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียงและผมเองได้ไปร้องเรียนที่เว็บไซด์ระฆัง ต่อมาท่านนายกทักษิณก็มีโครงการแก้ปัญหาความยากจนและปัญหาสังคมใครทำอาชีพผิดกฎหมายให้ไปแจ้งที่อำเภอผมก็ไปบอกว่าผมทำอาชีพผิดกฎหมายผมติดตั้งซอฟแวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ หน่วยงานของรัฐแก้ปัญหาโดยบอกว่า ให้ผมหันไปทำอาชีพ ที่ถูกกฎหมาย ผมก็แย้งว่า แล้วคนที่ละเมิดลิขสิทธิ์เต็มบ้านเต็มเมืองละท่าน ท่านแก้ปัญหากันแบบนี้เหรอ สุดท้ายผมก็ไปแจ้งแก่เว็บระฆัง แล้วผมก็เสนอวิธีการแก้ไขปัญหา โดยให้คนหันมาใช้ Opensource ทดแทนซอฟแวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ แต่สิ่งที่ผมเสนอไป คือสิ่งที่หน่วยงานของรัฐรับฟัง แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาอะไรได้ ผมก็เลยต้องมาทำโครงการแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟแวร์ด้วยตนเอง ตอนนั้นผมไปขอความร่วมมือกับเนคเทค และทางเนคเทคขอให้ผมสร้างชุมชนที่ใช้ลีนุกซ์ขึ้นมา แล้วจะมีการสนับสนุนลงไปจากหน่วยงานของรัฐ ก็เลยเกิดความร่วมมือขึ้นระหว่างหน่วยงานของรัฐ และในภาคชุมชนซึ่งผมเองเป็นผู้ประสานงานกับคนในชุมชน สิ่งที่สำคัญที่อยากจะบอกก็คือ การแก้ปัญหาไม่ได้สำคัญที่ว่าเรามีอำนาจอยูเท่าไหร่ หรือว่าเรามีเงินมากขนาดไหน แต่สำคัญที่ว่าเรามีสติปัญญาเพียงอที่จะแก้ไขปัญหาหรือเปล่า

ในช่วงแรกมีแรงต้านมากน้อยแค่ไหน ?

ในช่วงแรกๆ ยังไม่มีแรงต่อต้านมากเท่าไหร่ เพราะคนยังไม่เข้าใจว่า มันคือเทคโนโลยีอะไร ต่อพอจากนั้นไม่นานพอคนเห็นว่ามันคือเทคโนโลยีอะไร บางคนก็เริ่มที่จะไม่ชอบ เพราะกลัวความจริงว่า โลกนี้นอกจากซอฟแวร์ของไมโครซอฟต์แล้ว ยังมีซอฟแวร์อีกประเภทหนึ่งที่ชื่อว่าลีนุกซ์ สามารถใช้งานได้จริง กลัวว่าการที่คนในหมู่บ้านป่างิ้วถ้าหากใช้ลีนุกซ์ จะทำให้คนอื่นๆ ไม่ชอบคนในชุมชนป่างิ้ว เพราะคนบ้านป่างิ้วทำอะไรแปลกแยกจากคนอื่น เด็กในโรงเรียนบ้านป่างิ้ว บางคนก็ไม่ชอบ เพราะลีนุกซ์ไม่มีเกมส์ให้เล่น (สมัยนั้นใช้ลีนุกซ์ทะเล 5.5) และกลัวว่าจะปรับตัวเข้าไปเรียนในระดับมัธยมไม่ได้ หากใช้แต่ลีนุกซ์ และบางคนก็เกรงว่า ถ้าสนับสนุนลีนุกซ์มากๆ จะเกิดการส่งผลทางการเมือง ทำให้การปราบปรามซอฟแวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ทำใด้ง่ายขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคนทั้งประเทศ และหน่วยงานราชการจำต้องหันมาใช้ลีนุกซ์ แล้วยิ่งตอนนั้นผมสนับสนุนลีนุกซ์ทะเล ซึ่งเป็นของไทย ทำให้ถูกมองในแง่ของการเมืองอย่างมาก ช่วงนั้นผมต้องอดทนมาก เพราะโดนคนใส่ร้ายเยอะ คนไม่เข้าใจ

อะไรที่ทำให้แรงต่อต้านลดลง ?

เมื่อผมได้รับการสนับสนุนจากผู้ที่สนับสนุนโอเพ่นซอร์ส ทำให้คนหลายๆ คนเริ่มเข้าใจ และมีแรงสนับสนุนจากคนในชุมชนมากขึ้น ทำให้คนที่เคยต่อต้านไม่กล้าต่อต้าน และเมื่อหลายๆ คนได้ลองใช้ ทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น ทำให้เกิดการเปรียบเทียบการใช้งานระหว่างวินโดวส์กับลีนุกซ์ และเมื่อเห็นลีนุกซ์รุ่นใหม่ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา ตลอดจนเทคโนโลยีด้านโอเพ่นซอร์สที่ถูกพัฒนาขึ้น ทำให้หลายๆ คนต้องยอมรับว่ากระแสของโลกกำลังเปลี่ยนแปลง และผมก็ได้พยายามอธิบายให้หลายๆ คนเข้าใจว่า โอเพ่นซอร์ส มีความจำเป็นต่อการประกอบอาชีพอิสระด้านคอมพิวเตอร์ของผู้ที่มีรายได้น้อย และทุกๆ วันนี้ผมก็ประกอบอาชีพด้านโอเพ่นซอร์ส

อะไรคือแรงผลักดันให้เอาชนะ อุปสรรคต่างๆ มาได้จนถึงทุกวันนี้ ? แรงผลักดันส่วนใหญ่จะมาจาก เหล่าสาวกลีนุกซ์ ที่พยายามสนับสนุนด้านปัจจัย ด้านความรู้ และให้กำลังใจแก่ผมด้วยดีเสมอมา มันทำให้ผมกล้าทำในสิ่งที่ใครต่อใคร ต่างเรียกว่าเป็นไปไม่ได้ จนกระทั่งทุกๆ วันนี้ แม้ว่าจะไม่ประสบความสำเร็จมากนัก อย่างที่เราใฝ่ฝัน แม้ว่าทุกๆ วันนี้ลีนุกซ์จะยังเป็นส่วนน้อยของสังคม แต่การผลักดันสร้างท้องถิ่นโอเพ่นซอร์ส มันก็เป็นการปูแนวทาง ให้กับผู้ที่พัฒนาโอเพ่นซอร์สได้มองเห็นแนวทางชัดเจนขึ้น ในการพัฒนาโอเพ่นซอร์ส

ทีมงานเยอะไหม?

ทีมงานที่ทำแทบจะเป็นผมคนเดียว เพราะผมเป็นคนที่มีความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์มากที่สุด ส่วนคนอื่นๆ นั้นเป็นแรงสนับสนุนทางสังคมให้ ให้ยืมอุปกรณ์เพื่อการทดสอบบ้าง และให้ความช่วยเหลืออีกหลายๆ ประการ ผมคาดหวังว่าจะพัฒนาคนในชุมชนบางคนที่สนใจด้านคอมพิวเตอร์ เพื่อให้มีทักษะในด้านคอมพิวเตอร์ที่มากขึ้น และคาดหวังว่าในอนาคต จะสามารถพัฒนาบุคลากรด้านโอเพ่นซอร์ส เพื่อมาเป็นกำลัง และเป็นทีมงานในอนาคต

จนถึงปัจจุบันนี้คนให้การยอมรับหรือยัง และใช้กันบ้างแล้วกี่เปอร์เซนต์? ปัจจุบันก็มีการยอมรับกันมากขึ้น เพราะเริ่มเห็นข้อแตกต่างระหว่างวินโดวและลีนุกซ์ และบางคนก็ใช้แต่ลีนุกซ์ ไม่ใช้วินโดวส์ ถ้าจะให้เทียบเป็นอร์เซ็น จากประชากรในสองตำบลนี้ มีประมาณ 4,000 คน ผมเองไม่เคยได้ทำสำวจว่าสองตำบลนี้มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์อยู่กี่คน คนในตำบลสง่าบ้าน และตบลป่าลาน ส่วนใหญ่ประมาณ 70% เป็นชุมชนดั้งเดิม คือมีอาชีพการเกษตร คนที่ใชคอมพิวเตอร์คือเด็กนักเรียนนักศึกษา ยอมรับว่าคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ในชุชนนี้ยังถือว่าเป็นส่วนน้อย และผู้ใช้ลีนุกซ์จริงๆ เป็นส่วนน้อยมาก มีม่ถึงสิบคน แต่จากการพัฒนาท้องถิ่นโอเพ่นซอร์ส ทำให้บางคนสามารถใช้งานได้ท้งวินโดวส์และลีนุกซ์ เพราะสังเกตจากเครื่องอินเตอร์เน็ตตำบล บางคนที่บ้านช้วินโดวส์แต่พอมาใช้อินเตอร์เน็ตตำบลที่เป็นลีนุกซ์ ก็สามารถใช้งานได้ และเริ่มมีการยอมรับกันมากขึ้นกว่าแต่ก่อน

ยังคงมีการใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนเจือปนบ้างไหม ? ยังมีอยู่มากในชุมชน เพราะยังไม่ได้มีการปราบปรามผู้จำหน่ายซอฟแวร์ละเมิดลิขสิทธิ์อย่างจริงๆจังๆ ในประเทศไทยของเรา ทำให้คนในชุมชนไม่ได้เกิดแรงผลักดันที่จะเปลี่ยนแปลงอะไร หรือปรับตัวไปใช้ลีนุกซ์

แผนการในอนาคต ?

  1. ผลักดันให้ชุมชนรู้จักใช้ OpenOffice มากขึ้น โดยแจกจ่ายจันทราซีดี ใช้เอกสารในรูปแบบของ Open Document ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้โปรแกรม OpenOffice เปิดอ่าน
  2. สร้างกลุ่มอาชีพด้านคอมพิวเตอร์โดยใช้โอเพ่นซอร์ส โดยมีแผนการถ่ายทอดความรู้ด้านโอเพ่นซอร์ส และพัฒนาผู้ใช้โอเพ่นซอร์ส เช่นนำ e-book ที่ทาง SIPA จัดให้พิมพ์ออกมาให้กับเด็กที่สนใจ พร้อมกับให้คำแนะนำ

กล่าวอะไรถึงคนที่คิดจะใช้หน่อยครับ ?

อยากจะขอยืนยันว่า ลีนุกซ์ และซอฟแวร์ที่ใช้งานบนลีนุกซ์ เป็นสิ่งที่สามารถใช้งานได้จริง และไม่ได้ยากเกินไปที่ท่านคิดจะศึกษา และอยากจะขอร้องสำหรับคนที่มีความคิดจะพึ่งพาซอฟแวร์เถื่อน ว่าอย่าหลงผิด เห็นกงจักรเป็นดอกบัว หลงว่าเป็นของดีราคาถูก เพราะของค้าของขาย ย่อมมีการรับประกัน และบริการหลังการขาย ซอฟแวร์เถื่อนไม่มีการรับประกัน ไม่มีบริการหลังการขาย และการคิดจะพึ่งพาซีเรี่ยลกับคีย์เจนหรือโปรแกรม Crack ต่างๆ ท่านจะต้องระหนักถึงภาษิตโบราณว่า ผู้หว่านพืชย่อมหวังผล และไม่มีสัจจะในหมู่โจร มีนบางคนทำโปรแกรมชนิดนี้ขึ้นมา ล่อตาล่อใจท่าน ก็เพราะหวังจะขโมยข้อมูลส่วนัว เช่น e-mail รหัสบัตรเครดิต ฯลฯ หรือแม้แต่ควบคุมคอมพิวเตอร์ของท่าน ถ้าท่านไม่เงินซื้อซอฟแวร์ใช้ก็ขอให้หันมาใช้โอเพ่นซอร์สจะดีกว่าครับ ปัจจุบันนี้โอเพ่นซอร์สก็ถูกพัฒนาให้สามารถใช้งานได้ง่ายแล้วครับ

Tags:

linuxthailand