คุยเรื่องซอฟต์แวร์เสรี กับ ดร.ริชาร์ด สตอลล์แมน

Linux

คุยเรื่องซอฟต์แวร์เสรี กับ ดร.ริชาร์ด สตอลล์แมน

เกือบ 9 ปีที่ผ่านมา

4 min read

บทความนี้มีต้นฉบับมาจากเว็บ linuxthailand.org ซึ่งตอนนี้เข้าไม่ได้ ผมเห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์เลยขอนำมาอัพไว้ที่เว็บนี้ เผื่อท่านใดสนใจที่จะอ่านมัน ซึ่งหากทีมงานหรือเจ้าของบทความเห็นว่าไม่เหมาะสม ผมยินดีนำบทความนี้ออกให้ครับ

ผมคิดว่าผู้อ่านที่ติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กันในแบบเกาะติดจริงจังเท่านั้น ที่อาจจะพอนึกออกหรือรู้จักว่า ริชาร์ด สตอลล์แมน เป็นใคร แม้กระทั่งตัวผู้ร่วมพูดคุยกับตัวสตอลล์แมนเองในครั้งนี้ก็ต้องยอมรับว่าเพิ่งเคยจะได้ยินชื่อของเขาพร้อมกับแนวคิดที่เรียกได้ว่างดงาม แลดูกบฏอยู่ในที มาได้เป็นเวลาแค่ไม่ถึงหนึ่งปีเท่านั้นเอง

หนังสือ “ล่าแฮกเกอร์ป่วนโลก” ที่ผมได้รับมาจากเพื่อนคนหนึ่งนั้น ดูจากชื่อก็คงจะพอบอกได้ว่าเป็นเรื่องราวการติดตามสอบสวนการเจาะระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ตื่นเต้นน่าติดตามทีเดียว เหตุการณ์ตามหนังสือเป็นเหตุการณ์จริง แม้ว่าจะต้องปิดบังชื่อผู้กระทำผิดบางคนไว้ด้วยการเรียกชื่ออื่น แต่ก็ยังคงมีชื่อสถานที่เละบุคคลอีกส่วนหนึ่งที่เป็นชื่อจริง นับว่าเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือและความสมจริง เพียงแค่บทที่สาม ชื่อของ Free Software Foundation หรือที่ผมตั้งชื่อให้เองว่า สำนักซอฟต์แวร์เสรี ซึ่งตั้งอยู่ที่ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซ็ตต์ กับชื่อของริชาร์ด สตอลล์แมน ก็โดดเด่นออกมาในชื่อฐานะผู้ก่อตั้งสำนักที่คัดค้านหัวชนฝาที่จะให้มีการใช้ระบบจัดการความปลอดภัย ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสำนัก ด้วยการให้มีการขอใช้รหัสผ่าน เนื่องจากการรบกวนของ “แครกเกอร์” (Cracker) ที่เข้ามาลบโปรแกรมและใช้เป็นทางผ่านเพื่อเจาะเข้าไปยังระบบเครือข่ายอื่นๆ ไม่ใช่สตอลล์แมนจะสนับสนุนพฤติกรรมการเจาะเข้าไปทำลายเครือข่ายของพวกแครกเกอร์แต่อย่างใด หากแต่เป็นเพราะว่า เขาไม่อยากจะใช้กฏเกณฑ์ “ตัดสิน” ใคร ทำให้เมื่อเสียงข้างมากของสำนัก ตัดสินใจให้ผู้ที่จะเข้าใช้เครือข่ายจากภายนอกต้องขอ “รหัสผ่าน” เพื่อเข้าใช้ เขาถึงกับตัดสิทธิ์ตนเองโดยการไม่ขอรหัสผ่านเข้าใช้ นั่นเท่ากับทำให้ริชาร์ด สตอลล์แมน เข้าใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ตนเองเป็นผู้ก่อตั้งและมีตำแหน่งเป็นถึงประธานกรรมการไปโดยปริยาย

“ตัดสิน” ใคร ทำให้เมื่อเสียงข้างมากของสำนัก ตัดสินใจให้ผู้ที่จะเข้าใช้เครือข่ายจากภายนอกต้องขอ “รหัสผ่าน” เพื่อเข้าใช้ เขาถึงกับตัดสิทธิ์ตนเองโดยการไม่ขอรหัสผ่านเข้าใช้ นั่นเท่ากับทำให้ริชาร์ด สตอลล์แมน เข้าใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ตนเองเป็นผู้ก่อตั้งและมีตำแหน่งเป็นถึงประธานกรรมการไปโดยปริยาย

“ล่าแฮกเกอร์ป่วนโลก” ที่ผมได้รับมาจากเพื่อนคนหนึ่งนั้น ดูจากชื่อก็คงจะพอบอกได้ว่าเป็นเรื่องราวการติดตามสอบสวนการเจาะระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ตื่นเต้นน่าติดตามทีเดียว เหตุการณ์ตามหนังสือเป็นเหตุการณ์จริง แม้ว่าจะต้องปิดบังชื่อผู้กระทำผิดบางคนไว้ด้วยการเรียกชื่ออื่น แต่ก็ยังคงมีชื่อสถานที่เละบุคคลอีกส่วนหนึ่งที่เป็นชื่อจริง นับว่าเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือและความสมจริง เพียงแค่บทที่สาม ชื่อของ Free Software Foundation หรือที่ผมตั้งชื่อให้เองว่า สำนักซอฟต์แวร์เสรี ซึ่งตั้งอยู่ที่ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซ็ตต์ กับชื่อของริชาร์ด สตอลล์แมน ก็โดดเด่นออกมาในชื่อฐานะผู้ก่อตั้งสำนักที่คัดค้านหัวชนฝาที่จะให้มีการใช้ระบบจัดการความปลอดภัย ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสำนัก ด้วยการให้มีการขอใช้รหัสผ่าน เนื่องจากการรบกวนของ “แครกเกอร์” (Cracker) ที่เข้ามาลบโปรแกรมและใช้เป็นทางผ่านเพื่อเจาะเข้าไปยังระบบเครือข่ายอื่นๆ ไม่ใช่สตอลล์แมนจะสนับสนุนพฤติกรรมการเจาะเข้าไปทำลายเครือข่ายของพวกแครกเกอร์แต่อย่างใด หากแต่เป็นเพราะว่า เขาไม่อยากจะใช้กฏเกณฑ์ “ตัดสิน” ใคร ทำให้เมื่อเสียงข้างมากของสำนัก ตัดสินใจให้ผู้ที่จะเข้าใช้เครือข่ายจากภายนอกต้องขอ “รหัสผ่าน” เพื่อเข้าใช้ เขาถึงกับตัดสิทธิ์ตนเองโดยการไม่ขอรหัสผ่านเข้าใช้ นั่นเท่ากับทำให้ริชาร์ด สตอลล์แมน เข้าใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ตนเองเป็นผู้ก่อตั้งและมีตำแหน่งเป็นถึงประธานกรรมการไปโดยปริยาย

ความมั่นคงต่อความคิดของตนเองของริชาร์ด สตอลล์แมน ที่ถูกถ่ายทอดลงในหนังสือ ทำให้เขาเป็นหนึ่งในหลายเรื่องที่ผมจำได้จากหนังสือเล่มนั้น และเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมานี้เอง ข่าวคราวการเดินทางมาบรรยายทางวิชาการของริชาร์ด สตอลล์แมน ก็ถูกจัดให้มีขึ้นในเมืองไทย อีกทั้งยังได้มีการจัดให้มีการพบปะพูดคุยเป็นรอบพิเศษสำหรับสื่อมวลชนอีกด้วย เรื่องน่าสนใจเช่นนี้ทำให้ผมไม่รีรอที่จะตอบตกลง การพูดคุยเกิดขึ้นหลังจากวันที่สตอลล์แมนได้ไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเป็นการพูดคุยในรูปแบบที่ “ไม่เป็นทางการ” อย่างที่สุด โดยเน้นการพูดคุยไปที่ความหมายของ ซอฟต์แวร์เสรีหรือ Free Software ที่ตัวของเขาเองเป็นต้นแบบความคิด และผมก็พบว่านอกจากความมั่นคงทางด้านแนวคิดที่จะไม่ “ตัดสิน” ผู้อื่นด้วยมาตรฐานของตนเองแล้ว ความคิดเสรีเรื่องซอฟต์แวร์เสรี ของ ริชาร์ด สตอลล์แมน ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่แพ้กันทีเดียว

ริชาร์ด สตอลล์แมน คือ …? (ภาคต้น)

ก่อนที่จะได้พูดคุยกับริชาร์ด สตอลล์แมน ตัวจริง เราได้มีโอกาสเข้าไปสำรวจตรวจดูประวัติของเขา ที่ www.stallman.org ทำให้ได้ทราบว่า ริชาร์ด สตอลล์แมน ถือกำเนิดที่ แมนฮัตตัน นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2496 ก่อนที่จะมาจบการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อปี พ.ศ. 2517 ในระหว่างที่เขาเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยอยู่นั้น เขาได้เข้าไปเป็นอาสาสมัครใน ห้องปฏิบัติการปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Inteligence Lab.) ของ สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซ็ตต์ (MIT) ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน ทำให้เมื่อเขาจบการศึกษาออกมาแล้ว เขาจึงได้เข้ามาทำงานใน MIT ใน ฐานะโปรแกรมเมอร์ (แทนที่จะไปเป็นนักฟิสิกส์)

ชีวิตการทำงานของริชาร์ด สตอลล์แมน เริ่มด้วยการเป็นโปรแกรมเมอร์และแฮกเกอร์ (ผู้ที่ท่องไปในระบบเครือข่ายแต่มิได้ทำลายระบบนั้นๆ ที่พวกเขาหาหนทางเจาะเข้าไปได้ มิหนำซ้ำยังส่งรายละเอียดข้อบกพร่องไปยังเจ้าของระบบนั้นๆ อีกด้วย) ช่วยให้เขาได้พัฒนาการเขียนระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ อีกทั้งซอฟต์แวร์ใช้งานขึ้นมากมายซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ที่มีลักษณะซอฟต์แวร์เสรีทั้งสิ้น นับตั้งแต่เมื่อเขาจบการศึกษามาได้เพียงหนึ่งปี ระบบปฏิบัติการ GNU (อ่านว่า กะ-นู) อันเป็น “ระบบปฏิบัติการเสรี” ก็ได้เริ่มเกิดขึ้นซึ่งทำให้เขาต้องถอนตัวออกจาก MIT และตั้งสำนักซอฟต์แวร์เสรีขึ้นในปี พ.ศ. 2527 ต่อมาระบบปฏิบัติการนี้ก็สำเร็จออกมาใช้ เมื่อสิบปีที่ผ่านมา ในชื่อของระบบปฏิบัติการ GNU/Linux (เป็นที่น่าเสียดายว่าทุกๆคนมักจะรู้จักกันแต่ในชื่อ Linux)

บางคนอาจจะสงสัยว่า เหตุใดผมจึงตั้งชื่อเรื่องว่า ”คุยเรื่องซอฟต์แวร์เสรี กับ ดร.ริชาร์ด สตอลล์แมน” ทั้งๆที่เขาจบการศึกษาเพียงปริญญาตรี นั่นเป็นเพราะว่าเราเรียกเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่การได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์ จากราชวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งสวีเดน ซึ่งสตอลล์แมนได้รับมาเมื่อ พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งในอีกหลายรางวัลเกียรติยศอื่นๆ ที่เขาได้รับ เช่น ปี 2533 เขาได้รับรางวัล ”บุคคลอัจฉริยะ” จากมูลนิธิ แมคอาเธอร์ ปี 2534 รับรางวัล เกรซฮอบเปอร์ จากสมาคมคอมพิวเตอร์ในอเมริกา รางวัลทางด้านการค้นคว้าสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ จากมูลนิธิความก้าวหน้าทางอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับ ลินัส ทอร์วาลด์ ในปี 2541 เป็นต้น

ปัจจุบัน ริชาร์ดสตอลล์แมน อายุ 48 ปี เป็นชายผิวขาว ร่างใหญ่ ผมยาว หนวดเครายาว พูดภาษาอังกฤษด้วยถ้อยคำที่ชัดเจน มีดวงตาที่สดใสและจะแจ่มใสมากขึ้นเมื่อกล่าวถึงเสรีภาพของซอฟต์แวร์ และยังเป็นคนที่ไม่นิยมการใส่สูทและผูกเน็คไทอยู่เช่นเดิม

บ่ายวันที่ริชาร์ด สตอลล์แมน นั่งลงคุยกับเราเขามาในชุดเสื้อยืดสีแดง กางเกงขาสั้นพร้อมขลุ่ยเรคคอร์เดอร์ในมือ อีกหนึ่งเลาเท่านั้น

จุดเริ่มต้นของซอฟต์แวร์เสรี-Free Software

“ไอเดียของซอฟต์แวร์เสรีคือ เรื่องของอิสระภาพและความร่วมมือกันของกลุ่มคน นั่นคืออิสระที่ผู้ใช้จะได้อิสระในการใช้งานซอฟต์แวร์ ศึกษาดูว่ามันทำงานอย่างไร ปรับเปลี่ยนมันได้ แล้วก็จำหน่ายจ่ายแจกรูปแบบของซอฟต์แวร์ที่เขาเปลี่ยนแปลงแล้วนั้นได้ด้วย โดยแบ่งปันกันได้ในกลุ่มผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ด้วยกัน อันนี้ไม่ใช่แค่เพื่อความสะดวกสะบาย แต่สามารถใช้เป็นหลักการทั่วไปที่ทุกผู้ทุกคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ต้องได้รับอนุญาตให้ทำสิ่งนี้ได้ การที่คุณจะให้สิทธิกับใครอีกหลายคนคุณต้องทำได้ ในฐานะที่คุณเป็นมนุษย์คนหนึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความคิด ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ใช่มนุษย์ แต่คุณอยู่ในสังคมของ “ผู้ใช้” คอมพิวเตอร์ คุณก็ควรจะได้รับอิสระตรงนี้ด้วย”

“ให้คุณคิดถึงกระบวนการซอฟต์แวร์เสรีนี้เหมือนกับสูตรอาหาร พวกคุณทำครัวกันบ้างไหม? คุณเคยได้รับสูตรอาหารจากเพื่อนบ้างรึเปล่า? คุณเคยลอกสูตรอาหารแจกให้กับเพื่อนรึเปล่า? คุณเคยเปลี่ยนสูตรอาหารที่ได้มาเพราะทำแล้วไม่ถูกปากคุณหรือไม่? เหตุการณ์อย่างนี้จะเป็นว่า คุณได้สูตรอาหารมา คุณทดลองเปลี่ยนแปลงสูตรให้เป็นแบบของคุณ คุณลงมือทำอาหารตามสูตรใหม่ของคุณให้เพื่อนๆของคุณทาน แล้วก็มีคนนึงบอกว่า อาหารนี้อร่อยดีขอสูตรให้ฉันได้ไหม คุณก็เลยเขียนสูตรใหม่ของคุณนั้นให้เพื่อนคนนั้นไป ก็เปรียบได้กับเรื่องการแบ่งปันซอฟต์แวร์แบบที่ผมพูดถึง เพราะโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมีความคล้ายคลึงกับสูตรอาหารอยู่เหมือนกัน เพราะมันเป็นการรวบรวมเอากระบวนการขั้นตอนหลายๆอย่าง เพื่อมาทำงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้บรรลุผล ผู้คนจะแบ่งปันโปรแกรมเหมือนกับที่เขาแบ่งปันสูตรอาหาร เพราะไม่ใช่ว่าทุกโปรแกรมที่เขียนขึ้นมานั้นจะใช้งานได้เหมาะสมลงตัวกับผู้ใช้ทุกคน เพราะฉะนั้นผู้ใช้จึงต้องการที่จะปรับเปลี่ยนโปรแกรมให้ใช้งานได้ลงตัวกับงานของเขา เหมือนกับที่พวกเขาเปลี่ยนสูตรอาหาร เพื่อให้ปรุงออกมาแล้วถูกปากพวกเขามากขึ้น”

“ในช่วงปี 1970 ผมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสังคม (Community) ของเหล่าโปรแกรมเมอร์ที่มีการแบ่งปันซอฟต์แวร์ให้กันและกัน ผมจึงมัประสบการณ์ดีๆ เกี่ยวกับการกระทำเช่นนี้ แต่ในที่สุด กลุ่มสังคมนี้ก็พบจุดจบ ผมถูกบีบให้ออกมาอยู่ในในสังคมที่ใช้ซอฟต์แวร์ทั่วไป (ที่ถูกจำกัดการเปลี่ยนแปลงและการแจกจ่ายแบ่งปัน) ผมมองดูแล้วรู้สึกแย่ รู้สึกว่านี่มันเลวร้าย นี่มันเป็นวิถีชีวิตที่ห่วย ลองนึกดูว่า คุณย้ายไปอยู่ประเทศใหม่แล้วคุณพบว่าที่นั่นการเปลี่ยนแปลงและการแบ่งปันสูตรอาหารกลายเป็นสิ่งผิดกฏหมายคุณจะต้องช็อกแน่ๆ คุณจะต้องบอกตัวเองว่า นี่มันแย่มากๆ ใครอยากจะมีชีวิตอยู่แบบนี้บ้าง ก็เหมือนกับที่ผมรู้สึกเมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่ในสังคมที่เราทำอะไรกับซอฟต์แวร์ไม่ได้เลย (ยกเว้นซื้อมันมาใช้) ผมคิดว่ามันผิดศีลธรรมเลยด้วยซ้ำ น่าขยะแขยง ผมไม่อยากจะดำเนินชีวิตแบบนี้ และผมจะไม่ใช้ชีวิตแบบนั้นแน่ๆ”

กลุ่มสังคมที่สตอลล์แมนพูดถึงก็คือกลุ่มของโปรแกรมเมอร์ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการปัญญาประดิษฐ์ของเอ็มไอที ที่กล่าวกันว่าในยุคที่เขาทำงานอยู่นั้นแต่ละคนไม่มีคอมพิวเตอร์เฉพาะเป็นของตนเอง สามารถนั่งลงทำงานที่คอมพิวเตอร์เครื่องไหนก็ได้ที่ว่างงานอยู่ ดังนั้น จึงไม่มีรหัสผ่านหรือการป้องกันภายใน อีกทั้งยังมีการเอื้อเฟื้อแบ่งปันซอฟต์แวร์ระหว่างผู้ทำงานด้วยกันอย่างเต็มที่อีกด้วย

เมื่อเขามีความตั้งใจจะใช้ระบบซอฟต์แวร์เสรีแล้ว เขาจึงต้องเริ่มเขียนระบบปฏิบัติการเสรีขึ้นมารองรับการใช้งานกับซอฟต์แวร์เหล่านี้บนเครื่องคอมพิวเตอร์อีกด้วย

“เพราะฉะนั้นทางเดียวที่ผมจะใช้คอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องยุ่งกับชีวิตที่ย่ำแย่แบบนั้นก็คือ ต้องเขียนซอฟต์แวร์ขึ้นมาใหม่ (ด้วยตัวเอง) ทั้งระบบ ไม่ใช่ 2-3 โปรแกรม นั่นจึงเป็นการเริ่มต้นของผม…เขียนโปรแกรมขึ้นมาใหม่ เพื่อทดแทนตัวเก่าทุกตัวทุกแบบ ซึ่งขั้นแรกเลยต้องเขียนระบบปฏิบัติการตัวใหม่ขึ้นมา เพราะว่าจะใช้คอมพิวเตอร์มันก็ต้องมีระบบปฏิบัติการ ถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการก็ไม่สามารถเล่นโปรแกรมอะไรได้ ถ้าจะใช้คอมพิวเตอร์ที่มีซอฟต์แวร์เสรี เราต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่เป็นเสรีด้วย ดังนั้นเราจึงเขียนระบบปฏิบัติการที่ชื่อ GNU ขึ้นมา”

“เราเริ่มเขียนระบบปฏิบัติการขึ้นใน พ.ศ. 2527 มาใกล้เสร็จเอาช่วง 2534-2535 ซึ่งยังมีอีกส่วนสำคัญที่ขาดหายไป ซึ่งก็มีโปรแกรมเมอร์จากฟินแลนด์เขียนส่วนสุดท้ายนี้ให้ระบบสมบูรณ์กลายเป็นระบบ GNU/Linux หรือ GNU+Linux ขึ้นมา ซึ่งระบบปฏิบัติการนี้ในปัจจุบัน มีผู้ใช้อยู่ 20 ล้านคนทั่วโลก แต่คนมักจะเข้าใจผิดว่า ระบบปฏิบัติการนี้ชื่อ Linux แล้ว GNU เป็นเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการสร้างซึ่งการเรียกระบบปฏิบัติการว่า Linux อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจไม่ชัดเจนนักจึงอยากให้เรียกว่า GNU/Linux นั่นจะทำให้คนไม่สับสนเมื่อได้นึกถึงประวัติและจุดมุ่งหมายจริงๆของระบบ”

ซอฟต์แวร์เสรีที่ไม่ใช่ของฟรี

ด้วยภาษาอังกฤษที่มีหลากความหมาย คำว่า Free Software อาจจะถูกเข้าใจผิดว่าต้องเป็นซอฟต์แวร์ที่สำหรับแจกฟรีเท่านั้น หรือดาวน์โหลดได้ได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ตเท่านั้นหรือ แต่จริงๆแล้วคำว่า Free ในชื่อภาษาอังกฤษนั้น เป็นคำย่อมาจาก Freedom ที่หมายถึงเสรีภาพมากกว่า

“คำว่า Free ในภาษาอังกฤษนั้น ตีความได้หลายความหมาย ความหมายนึงคือไม่มีราคา แจกฟรี ส่วนอีกความหมายหนึ่งก็คือ อิสรภาพ”

“สิ่งสำคัญที่สุดในเรื่องของซอฟต์แวร์เสรีก็คือ การเคารพในเสรีภาพของผู้อื่น การยอมให้ผู้อื่นได้มีอิสระเสรี มีอิสระที่จะร่วมไม้ร่วมมือกับผู้อื่น มันก็มีเหมือนกับที่บางคนได้ซอฟต์แวร์เสรีไปโดยไม่ต้องรับเงินอย่างเช่นเพื่อน Copy มาให้ มันอาจจะถูกกฏหมายด้วยซ้ำ ผมก็คิดว่ามันยังไม่เป็นเรื่องผิดถ้าคุณจะ Copy ข้อมูลสำคัญบางอย่างให้เพื่อนนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของมิตรภาพ แต่ถ้าเป็นซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่ไม่ได้เข้าข่ายซอฟต์แวร์เสรีคุณทำแบบนั้น คุณถือว่าทำอาชญากรรม ถือว่าทำผิดต่อกฏหมายทั้งๆ ที่เป็นการแบ่งปันกันระหว่างมิตร ซึ่งนั่นเป็นเรื่องแย่มาก กฏหมายพวกนั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องถูกต้องนัก”

“ซอฟต์แวร์เสรีนั้นคุณจะต้องเข้าถึง Source Code ได้ เพื่อดูว่ามันทำงานได้อย่างไรบ้าง นั่นเป็นข้อบังคับหนึ่งที่ซอฟต์แวร์เสรีทุกตัวจะต้องมีคือ เข้าถึง Source Code ได้”

“ซอฟต์แวร์ที่ขายๆกันอยู่นั้น ผู้เขียนโปรแกรมอาจจะบอกคุณว่า มันทำงานเพื่อวัตถุประสงค์หนึ่งอย่าง แต่ว่ามันยังทำอย่างอื่นได้แบบลับๆ ซึ่งคุณคงไม่ชอบถ้าคุณรู้ว่ามันทำอะไรบ้าง อย่างเช่น มันอาจจะบันทึกไว้ว่าคุณใช้มันทำอะไรบ้างแล้วหลังจากนั้นส่งรายงานไปยัง Central Internet Site ซึ่งมันกำลังสอดแนมอยู่ว่า ลูกค้าของมันเองทำอะไรบ้าง ซึ่งคุณจะไม่รู้เลย (รู้ได้ยากมาก) เพราะคุณไม่สามารถเข้าถึงระบบการทำงานของซอฟต์แวร์ที่ไม่เสรี แต่ถ้าเป็นซอฟต์แวร์เสรี คุณเช็คดูได้เลยว่า มันทำอะไรได้บ้าง อันนี้เป็นกลเม็ดเด็ดพรายที่นักพัฒนาโปรแกรมพยายามจะหลอกลวงและปิดบังจากผู้ใช้ (USER)”

“และถึงแม้ว่าจะมีผู้พัฒนา Source Code โปรแกรมที่ไม่ได้เล่นเล่ห์อะไรกับผู้ใช้ก็ตาม โปรแกรมนั้นก็อาจจะมี Bug อยู่ภายใน ซึ่งถ้าผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ก็จะค้นหา Bug ได้พบและทำการแก้ไขได้”

“ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายในทุกวันนี้ ยังแนะนำว่า คุณควรจะใช้ซอฟต์แวร์เสรี สำหรับโปรแกรมอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับระบบความปลอดภัย เพราะว่าซอฟต์แวร์เสรีที่คุณใช้จะอนุญาตให้คุณเข้าไปดูรายละเอียดการทำงานได้เพื่อดูว่ามันมีจุดอ่อนหรือไม่ ถ้าหากไม่พบ คุณก็จะยิ่งเชื่อถือโปรแกรมนี้มากยิ่งขึ้น แต่ถ้าเป็นซอฟต์แวร์ทั่วไป จะเป็นความลับไม่มีใครเข้าไปตรวจสอบได้ คุณจะไปรู้ได้ยังไงว่าพักพัฒนาโปรแกรมจะไม่ทิ้งช่องโหว่เอาไว้ในนั้น เพราะไม่มีใครมีโอกาสไปตรวจดูได้เลย”

จากกฏทั้ง 4 ข้อ(ดูรายละเอียดด้านล่าง)ของการจะทำให้ซอฟต์แวร์ที่ใครก็ตามจะเขียนขึ้นมามีสภาพเป็นซอฟต์แวร์เสรี อาจจะทำให้นักพัฒนาโปรแกรมหลายคน มองไม่ออกว่า ตนเองจะสร้างรายได้จากการเขียนซอฟต์แวร์แบบนี้ตรงไหน แต่สตอลล์แมนก็บอกว่า มีหลายช่องทางที่ใช้หาเงินเลี้ยงชีพจากการเขียนซอฟต์แวร์ได้ อาจจะไม่ได้เงินจากการขายโดยตรงมากนัก แต่น่าจะได้รายได้หลักมาจากการทำหน้าที่บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับซอฟต์แวร์นั้นๆมากกว่า

“คำถามแรกที่ต้องถามตัวเองก็คือ อะไรคือสิ่งที่ถูกต้อง คำถามที่สองคือ จะทำอย่างไรให้โลกทั้งใบเดินไปในวิถีที่ถูกต้องนั้น เรื่องต่อไปที่ต้องรู้ก็คือ มีบริษัทที่ตั้งขึ้นเพื่อขายซอฟต์แวร์เสรีแล้ว ที่ Run บน GNU/Linux นี่แหล่ะ ซึ่งก็หาเงินได้เสริมจากการบริการปรึกษาเกี่ยวกับโปรแกรมนั้นๆ ซึ่งผมเห็นว่ามันจะเป็นทางออกทางด้านการเงินของบริษัทพัฒนาโปรแกรมที่ทำธุรกิจซอฟต์แวร์เสรี”

“การที่คนจะ Copy โปรแกรมของผมจากเครือข่าย ดัดแปลงมันแล้วเอาออกขายในชื่ออื่น เป็นสิ่งที่ทำได้ในสังคมซอฟต์แวร์เสรี ตราบใดที่ไม่ผิดข้อกำหนดของซอฟต์แวร์เสรีทั้งหมด 4 ข้อ”

“แต่ผู้ที่ทำผิดจริงๆ ก็คือในกรณีที่บางคนพยายามที่จะบีบบังคับคนอื่นคือ ขายก๊อปปี้แล้วแต่ห้ามผู้ใชเข้าถึง Source Code เหล่านั้นต่างหาก”

“บางคนไปซื้อซอฟต์แวร์เถื่อนจากแหล่งต่างๆ มาใช้แล้วบอกว่าฉันใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้อนุญาตดังนั้นที่ฉันใช้คือซอฟต์แวร์เสรี อันนี้ไม่ใช่ เพราะมันไม่มี Source Code มาด้วย เราเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ พวกทำซอฟต์แวร์เถื่อนแบบนี้ต้องแอบๆ ซ่อนๆขายกัน แต่สำหรับซอฟต์แวร์เสรี เราอยู่บนโลกได้อย่างถูกกฏหมายเต็มที่ เราอนุญาตให้ทุกคนแบ่งปันกันได้อย่างถูกต้อง เราอยู่กันได้ด้วยความร่วมมือกัน โดยไม่ต้องแอบซ่อน”

แบ่งแยกแล้วปกครอง

คำถามที่เกิดขึ้นในบ่ายวันนั้นมีอยู่มากมาย คำถามหนึ่งที่ดูจะเป็นที่น่าสนใจก็คือ มีผู้ถามว่า ถ้าให้สตอลล์แมนได้คุยกับบิลล์เกตต์ เจ้าของบริษัทซอฟต์แวร์ (ไม่เสรี) ยักษ์ใหญ่อย่างไมโครซอฟต์ (เจ้าของระบบปฏิบัติการ Windows) สตอลล์แมนจะพูดอะไรกับบิล เกตต์บ้าง เขาให้คำตอบที่น่าสนใจว่า

“ผมไม่มีอะไรจะพูดกับ บิลล์ เกตต์ แต่ผู้คนที่ผมอยากพูดด้วยคือ คนที่อยู่ในบังคับของเขา ผมอยากบอกพวกเขาว่า เอาโซ่ที่ล่ามคอออกเสีย แล้วสู้เพื่ออิสรภาพ”

“พวกนี้ชอบเขียนโปรแกรมที่บีบบังคับผู้ใช้ให้ได้แต่ใช้ คุณบอกไม่ได้เลยว่ามันทำอะไรบ้างจริงๆ คุณเปลี่ยนแปลงมันก็ไม่ได้ พอคุณแบ่งปันให้เพื่อน พวกเขาก็เรียกคุณว่า ”โจรสลัด” (Pirate) ดูสิพวกเขาเรียกการช่วยเหลือกันฉันท์มิตรว่าเป็นพวกเดียวกับโจรที่โจมตีเรือชาวบ้านหรือนี่ บรรทัดฐานทางศีลธรรมมันกลับตาลปัตรไปแล้ว เราคิดว่าการมีศีลธรรมคือ การมีเมตตา การบริจาค ซึ่งรวมถึงการช่วยเหลือผู้ได้ชื่อว่ามิตร ถ้าคุณมีความรู้ที่ช่วยเหลือเพื่อนของคุณได้ คุณต้องสามารถสอนเพื่อนคุณได้ คุณต้องร่วมแบ่งปันความรู้นั้นได้”

“แต่ใครก็ตามที่พยายามที่จะไม่ให้ผู้คนสอนซึ่งกันและกัน ห้ามไม่ให้ผู้คนแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน ผู้นั้นทำตัวเป็นปรสิตของสังคมที่ไม่ควรให้อภัย คนพวกนี้ทำให้ผู้ใช้โปรแกรมนั้นถูกตัดขาดออกจากข้อมูลว่า เกิดอะไรขึ้นกับซอฟต์แวร์บ้าง ถูกบีบให้มีทัศนคติที่เพี้ยนไปในเรื่อง “ถูก” และ “ผิด” ซึ่งก็คือ “ถูก” คือผู้ที่เชื่อฟังนักพัฒนาโปรแกรมมีอำนาจ แต่คุณไม่มีอะไรเลยนอกจากใช้งานโปรแกรมเหล่านั้นไปเฉยๆ อย่างนี้ มันผิดทางจริยธรรมไหม มันบ่งบอกถึง ระบบชนชั้นที่นักพัฒนาโปรแกรมเป็น “เจ้านาย” และคนอื่นๆ มีตัวตนอยู่เพียง “รับใช้”พวกเขาเท่านั้น เหมือนกับระบบเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ”

“มันเป็นเรื่องผิดที่จะไปแบ่งแยกผู้คนเพื่อปกครองแบบบีบบังคับ ซึ่งตัวผมเองไม่มีสิทธิทำพฤติกรรมแบบนั้นเพื่อให้ได้เงินมาเลี้ยงชีพ มันเป็นสิ่งเลวร้าย ซึ่งไม่สามารถจะหาข้ออ้างใดๆ เพื่อหาเลี้ยงชีพด้วยการทำเช่นนี้ได้เลย ดังนั้น ผมจึงได้บทสรุปว่า ผมไม่สามารถหาเงินเลี้ยงชีพได้ด้วยการเขียนซอฟต์แวร์ที่เอาเปรียบผู้ใช้แบบนั้นได้ซึ่งการขายโปรแกรมให้ได้เงินดีๆ ก็ยังต้องเขียนโปรแกรมที่มีข้อจำกัดมาก บีบบังคับผู้ใช้มากๆ ก็จะยังได้เงินมาง่ายและได้มาก แต่ถ้าคุณปฏิเสธวิถีชีวิตแบบนั้น คุณต้องการจะอยู่ในเส้นทางชีวิตที่ดีกว่านั้น มันก็มีทางที่จะหาเงินเลี้ยงชีพได้ อย่างแรกที่ผมทำก็คือ ขายก๊อปปี้ของโปรแกรมของผมเอง แต่ไม่ใช่ทุกคนจะจ่ายเงิน เพราะมีบางคนได้จากเครือข่ายหรือบางคนได้ต่อไปจากคนอื่นด้วยซ้ำ เพราะมันเป็นเรื่องที่ทำกันได้ พูดง่ายๆว่า ผู้ใช้ส่วนใหญ่ที่ได้โปรแกรมนี้ไปใช้ไม่ได้จ่ายเงินผม แต่มีบางส่วนที่จ่ายซึ่งนั่นก็เพียงพอแล้วสำหรับผม”

และเขายังบอกอีกว่าหากประเทศกำลังพัฒนาอย่างเราหรือประเทศอื่นๆ หันมาพัฒนาหรือใช้ซอฟต์แวร์เสรีเป็นหลักในประเทศ ก็จะช่วยประหยัดงบประมาณไปได้มากทีเดียว

“การใช้ซอฟต์แวร์เสรีจะทำให้เป็นอิสระจากเรื่องการเสียเงินค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ไปได้มาก ถ้ารัฐบาลไทยบอกว่า เรามาใช้ซอฟต์แวร์เสรีกันเถอะ มันจะเป็นยุทธศาสตร์ที่ฉลาดมาก ในตอนนี้อาจจะมีงานบางอย่างที่ยังใช้ซอฟต์แวร์เสรีไม่ได้ สิ่งที่ควรทำสำหรับรัฐบาลก็คือ ลงทุน ลงเงินพัฒนาการเขียนซอฟต์แวร์เสรีที่จะนำมาใช้กับงานนั้นๆได้”

ริชาร์ด สตอลล์แมนคือ…? (ภาคจบ)

ริชาร์ด สตอลล์แมนพูดถึง ชีวิตของเขาในทุกวันนี้ว่า ตอนนี้เขายังอยู่ที่เคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซ็ตต์ มีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่ายสมถะเพราะว่า

“ถ้าผมตัดสินใจจะอยู่ในธุรกิจซอฟต์แวร์ทั่วไป ผมอาจจะไม่ได้มีเงินมากมายเท่า บิลล์ เกตต์ แต่ผมคงจะเป็นอยู่สบายมากกว่าทุกวันนี้ หรุหรากว่านี้ เหตุผลเดียวที่ผมไม่ทำแบบนั้น เพราะผมตัดสินใจแล้วว่านั่นมันเป็นทางที่ผิด”

เขาใช้ชีวิตวัย 48 ปี ที่ยังไม่ได้แต่งงาน (แต่มีเพื่อนหญิงแล้ว) ด้วยการใช้เวลา 2 ใน 3 ของปี ออกไปบรรยายสร้างความเข้าใจเรื่องของซอฟต์แวร์เสรีให้กับผู้คนตามที่ต่างๆทั่วโลก

ริชาร์ด สตอลล์แมน หรือที่ผู้คนในวงการเรียกเขาว่า “RMS” บอกกับพวกเราในบ่ายวันนั้นว่า เขาเพิ่งตกหลุมรักนกแก้วที่สวนนกจูล่ง ประเทศสิงคโปร์เมื่อไม่นานมานี้ แต่เขาเสียดายที่ไม่สามารถเลี้ยงนกแก้วได้ เนื่องจากชีวิตที่ต้องเดินทางมากของเขานั่นเอง

ริชาร์ด สตอลล์แมน ยังคงเป็นแฟนนิยายวิทยาศาสตร์อย่างเหนียวแน่น แต่แนวที่เขาอ่านคงไม่เหมือนกับบ้านเรานัก เพราะเมื่อถามถึง อาเทอร์ ซี. คลาร์ก เขาบอกว่าชอบนิยายเพียงเรื่องเดียวเท่านั้นคือ “Against the Fall of Night” และเมื่อถามถึงนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ที่พอจะแนะนำได้เขาพูดถึง ริชาร์ด อีแกน (Richard Egan) ขึ้นมาเป็นชื่อแรก

และสุดท้าย ริชาร์ด สตอลล์แมน พิสูจน์ให้เราเห็นว่า อย่า “ตัดสิน” คนอื่นด้วยความเห็นของตนเอง ด้วยการเป่าขลุ่ยเรคคอร์เดอร์เลาเล็กของเขาเป็นเพลง Bulgarian Folk dance อย่างไพเราะน่าฟัง ซึ่งดูขัดกับบุคคลิกนักคอมพิวเตอร์ที่เก็บตัว และไม่ค่อยสนใจกฏเกณฑ์สังคมมากนักอย่างเขา

เราประทับใจอีกครั้งเมื่อเขาบอกว่า เขากำลังจะเดินทางไปโรงละครแห่งชาต์เพื่อชมการแสดงโขนและการฟ้อนรำแบบไทย

“ผมชื่นชอบการได้ชมและฟังงานทางด้านศิลปะวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ที่ผมมีโอกาสไปเยือน”

ริชาร์ด สตอลล์แมนกล่าวกับเราในที่สุด

เสรีภาพ 4 ประการของซอฟต์แวร์เสรี เสรีภาพข้อที่ศูนย์ เสรีภาพที่จะใช้งานโปรแกรมนั้นๆ ได้ในหลากหลายวัตถุประสงค์ เสรีภาพข้อที่หนึ่ง เสรีภาพที่จะตรวจดูว่าซอฟต์แวร์นั้นๆ ทำงานอย่างไร และต้องดัดแปลงให้ซอฟต์แวร์นั้นใช้งานตามที่ผู้ใช้ต้องการได้ เสรีภาพข้อที่สอง เสรีภาพที่จะแจกจ่ายสำเนาของซอฟต์แวร์เหล่านั้นต่อไปได้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน เสรีภาพข้อที่สาม เสรีภาพที่จะปรับปรุงซอฟต์แวร์นั้น ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น แล้วจำหน้ายแจกจ่ายออกไปในสังคม เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมนั้นๆเอง

Tags:

linuxthailand