Desktop Effect พัฒนาการอีกขั้นของ Linux

Linux

Desktop Effect พัฒนาการอีกขั้นของ Linux

เกือบ 9 ปีที่ผ่านมา

1 min read

บทความนี้มีต้นฉบับมาจากเว็บ linuxthailand.org ซึ่งตอนนี้เข้าไม่ได้ ผมเห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์เลยขอนำมาอัพไว้ที่เว็บนี้ เผื่อท่านใดสนใจที่จะอ่านมัน ซึ่งหากทีมงานหรือเจ้าของบทความเห็นว่าไม่เหมาะสม ผมยินดีนำบทความนี้ออกให้ครับ

เป็นเวลานานมากแล้ว ที่ภาพของ Linux ที่เป็นหน้าจอดำๆ มีตัวหนังสือเต็มไปหมด และสั่งงานผ่านคีย์บอร์ดเท่านั้นติดตาของผู้ใช้คอมพิวเตอร์มานาน แม้ว่าทุกวันนี้ Linux จะมีระบบกราฟิกให้ใช้งานได้แล้วก็ตาม แต่คนที่จะใช้งาน Linux ก็ยังคงน้อยอยู่มากๆ ด้วยเหตุผลนานับประการ ซึ่งเหตุผลหนึ่งที่ได้ยินอยู่บ่อยๆคือ “มันไม่สวย” ซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อนแล้วก็อาจจะจริง แต่ถ้าเป็นปัจจุบันนี้ผมคงต้องเถียง เพราะนี้ Linux มี Effect ในการแสดงผลที่เป็นลูกเล่นสวยงามแล้ว ซึ่งเรียกว่า Desktop Effect

สำหรับ Desktop Effect ที่ใช้ใน Linux ที่ผมพูดถึงอยู่นี้ ถูกพัฒนาโดยบริษัท Novell โดยซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแสดงผล Effect นี้มีชื่อว่า Compiz แต่ในภายหลังโครงการถูกแยกออกมาจาก Novell เป็นซอฟต์แวร์อีกตัวหนึ่งซึ่งทำงานในลักษณะเดียวกัน มีชื่อว่า Beryl ทั้ง Compiz และ Beryl นั้น อาศัยการทำงานของระบบ OpenGL เป็นหลัก ทำให้การประมวลผลในส่วนของ Effect นี้ จะใช้ทรัพยากรของ Graphic card เป็นหลัก ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของคอมพิวเตอร์ลดลงน้อยมาก อีกทั้งการแสดงผลยังนุ่มนวลอีกด้วย และยังสามารถทำงานบนคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆได้อีกด้วย ขอเพียงแค่การ์ดแสดงผลรองรับ OpenGL เป็นพอครับ หากจะลองเปรียบเทียบกันตรงๆกับ Windows Vista แล้ว Linux และ Desktop Effect นั้นกินทรัพยากรน้อยกว่ามาก

Linux Distribution ไหนที่ใช้ได้บ้าง

แน่นอนว่า Linux ในโลกนี้มีอยู่หลายค่ายหลายยี่ห้อ แล้วจะเลือกตัวไหนดีให้ใช้งาน Desktop Effect ได้ ซึ่งจริงๆแล้วต้องบอกว่า ตัวไหนก็ได้ ที่มี Xorg เวอร์ชั่น 7.1 ขึ้นไปครับสามารถติดตั้ง Compiz หรือ Beryl เพื่อใช้งานได้เลย หรือในอีกทางเลือกหนึ่งคือ เลือกใช้ Linux ที่รวม Desktop Effect มาให้แล้วในตัว เพื่อความสะดวกในการใช้งานครับ และ Linux Distribution ที่ผมแนะนำให้ลองคือ Ubuntu และ Fedora ครับ ที่จริงแล้วยังมีอีกหลายตัว แต่ผมแนะนำให้ลองสองตัวนี้ครับ

เปิดใช้งาน Desktop Effect บน Ubuntu

Ubuntu น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เพราะคุณสามารถทดลองใช้งาน Ubuntu และ Desktop Effect ได้ทันทีโดยไม่ต้องติดตั้งลงเครื่อง หมายความว่าถ้าคุณลองแล้วไม่พอใจ ก็ไม่ต้องติดตั้ง และขอมูลทั้งหมดภายในเครื่องของคุณก็จะยังคงปลอดภัยเหมือนเดิมทุกประการครับ ถ้าหากคุณเปิด Ubuntu ขึ้นมาแล้ว วิธีเปิดใช้งาน Desktop Effect นั้น ให้คุณไปที่เมนู System > Preferences > Desktop Effects ก็สามารถใช้งานได้ทันทีครับ

หากคุณกำลังคิดที่จะอัพเกรดคอมพิวเตอร์เครื่องเก่าของคุณที่รู้สึกว่ามันทำงานช้าเกินไปแล้ว ผมอยากให้คุณหันมาลอง Linux ดูก่อนที่จะต้องเสียเงินในกระเป๋าไปครับ หรือถ้าคุณเป็นคนหนึ่งซึ่งยังไม่ยอมใช้ Linux ด้วยเหตุผลว่า “ไม่สวย” นี่เป็นโอกาสดีที่จะเปิดใช้ลองใช้ระบบปฏิบัติการ Linux อย่างจริงจังเสียทีครับ

Tags:

linuxthailand