หลังจากที่บริษัทเล็กๆ อ่อนๆ Microsoft ประกาศเลิกสนับสนุน Windows XP ก็ทำให้หลายๆ คนกระวนกระวาย ใจหาย ใจคว่ำ ว่าจะไปใช้ระบบปฏิบัติการไหนต่อไป ในเมื่อ XP ก็หยุดสนับสนุนแล้ว อีกทั้ง Windows 7 ก็อาจจะอยู่ได้ไม่นาน ก็คงจะถูกลอยแพไปตามๆ กัน
ถึงแม้บางคนจะโหลดเถื่อนก็เถอะ ก็ยังกังวลไม่ใช่น้อยแต่ก็มีคนกลุ่มหนึ่งมาบอกว่า เฮ้! พวกนาย Windows XP เลิกซัพพอร์ทแล้วนะ นายไม่ลองมาใช้ Linux กันบ้างหรอ ฟรีและมีมาให้ลองเรื่อยๆ นะจ๊ะ และถึงแม้จะมีกลุ่มผู้ใช้ที่เปลี่ยนใจจาก Windows XP มาลองใช้ Linux
แต่ก็อะนะ พวกเค้าคือมือใหม่สำหรับ Linux จึงเกิดคำถาม ว่าจะหา Linux สายพันธุ์ไหน ตระกูลไหนมาลองดี เพราะมีเยอะ ซะเหลือเกิน ไม่รู้จะเยอะไปไหน อันนี้คืออะไร อันโน่น คืออะไร ต่างกันยังไง อันนี้ผมเข้าใจดี เพราะผมก็เคยเป็น จนได้กำเนิด เกิดบทความนี้ขึ้นมา ที่จริงไปเดินเล่นที่ บอร์ดคำถามลินุกซ์แล้วไปเจอพอดี เผื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจอยากจะลอง Linux แต่ไม่รู้จะลองตัวไหน ลองอ่านดูได้ครับ
For New User
1. Linux Mint
เป็น Linux สุดฮอตฮิต เพราะด้วยการใช้ที่ใช้ง่าย แทบไม่ต้องรู้คำสั่งอะไรมากมายเกี่ยวกับ Linux เลย ก็สามารถจะใช้งานได้ แถมหากมีปัญหาก็สามารถถามบอร์ด Linux ต่างๆ ได้ เพราะสำหรับขา Linux แล้ว คงไม่มีใครไม่รู้จักน้องมินท์ แถมยังมีคนบอกว่าหน้าตาคล้าย Windows XP ด้วยนะเออ ใครเพิ่งย้ายมา ตัวนี้ก็น่าลองไม่ใช่น้อยเลย
2. Ubuntu
Linux ผู้ต้นแบบให้ Linux หลายตัวมาก คงไม่ต้องอธิบายสรรพคุณมาก เพราะถ้าคิดจะลอง Linux ก็คงคิดถึง Ubuntu เป็นตัวแรก แต่ก่อนนั้น Ubuntu เคยอยู่อันดับที่ 1 ของเว็บ Distrowatch.com แต่ด้วยเวอร์ชั่น 11 ได้มีการเปลี่ยนมาใช้ Desktop ที่เรียกว่า Unity ทำให้ผู้ใช้งานหลายคนไม่พอใจ เลยหันไปคบน้องมินต์ แทน (Linux Mint) ถึงจะยังไง Ubuntu ก็ยังเป็นสุดยอด Linux Desktop อยู่ดี เราก็ควรหามาลองดูนะครับ
3. Zorin OS
Linux ที่มีพื้นฐานมาจาก Ubuntu แต่มีการปรับแต่งหน้าตาให้ใช้ง่าย เหมาะแก่ท่านที่เพิ่งย้ายมาจาก Windows แต่ยังไม่ชินหน้าตาของ Linux ก็ลองพิจารณาตัวนี้ดูนะครับ
4. Robolinux
สำหรับผู้ที่ตัดใจจาก Windows ไม่ขาด แต่ยังอยากใช้ Linux อยู่ เจ้า Robo ก็ได้ติดตั้งแพคเก็จ VM หรือ VirtualMachine มาให้เลย สามารถใช้งาน Windows ได้เลย (เหมือนเราใช้งาน Windows ใน VirtualBox)
5. StartOS
Linux สวยๆ จากเมืองจีนแท้ๆ ขนาดเว็บยังเป็นภาษาจีน ใครที่อยากได้ Linux สวยๆ งามๆ ก็ลองใช้ตัวนี้ดู การใช้งานไม่ยากครับ แต่ยากตรงภาษาจีนนี่แหละ ถ้าไม่เชื่อผมก็คลิกไปดูได้เลย :D
6. Pinguy OS
ออกเพื่อสำหรับคนใช้ Windows หรือ Mac มาก่อน สามารถเรียนรู้ได้ไม่ยาก มีพื้นฐานมาจาก Ubuntu และเป็น Gnome นะจ๊ะ
7. MEPIS
Linux ที่พัฒนามาจาก Debian โดยแท้ ด้วยการปรับแต่งที่ให้สามารถใช้ง่ายกว่า Debian จึงให้ Linux ตัวน่าลองเหมือนกัน สำหรับผู้ที่ชื่นชอบ Debian
8. Antergos
ที่รู้จักกันก่อนหน้านี้เป็น Cinnarch, Antergos มีพื้นฐานมาจาก Arch Linux ซึ่งเป็นที่นิยมกับ Opensorce Hard core User แต่ Antergos นั้นง่ายมากสำหรับผู้เริ่มต้นการใช้งานมากกว่า Arch เพราะมันมาพร้อมกับการติดตั้งแบบกราฟิกที่ช่วยให้ผู้ใช้มีใหม่อย่างเราๆ ก็สามารถติดตั้งได้ในไม่ยาก
9. Manjaro
พัฒนามาจาก Arch Linux เหมือนกัน แต่ด้วย DE (Desktop environment) มีให้เลือกเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น Cinnamon, Enlightenment, Fluxbox, Gnome, LXDE, LXQT, MATE, Netbook, Openbox และ PekWM ใครที่ชอบแบบไหนก็สามารถเลือกใช้ได้ตามสบายเลย
10. PCLinuxOS
Linux หน้าตางามแถมการใช้งานไม่ยุ่งยากอะไร อาจจะคล้าย Windows บ้างในบางส่วน มีหลาย DE (Desktop environment) ให้เลือกใช้ KDE, LXDE, FullMonty, Mate
11. Edubuntu
Linux เกิดมาเพื่อการศึกษา เหมาะแก่โรงเรียนหรือนักเรียนหรือผู้ที่สนใจ เพราะมีชุดโปรแกรมที่พร้อมสำหรับการศึกษา นำไปใช้เรียนใช้สอนได้ตามสบายเลย ส่วนมีอะไรบ้างนั้นไปหารายละเอียดกันเอาเองนะครับ แถมยังได้รับการสนับสนุนจาก Canonical ซึ่งเป็นผู้หนุนหลัง Ubuntu อีกด้วย
12. Mageia
เป็น Linux แตกหน่อมาจาก Mandrake (ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อ Mandriva) Mageia เป็นกลุ่มที่ขับเคลื่อนด้วยการกระจาย Linux ที่มีชื่อเสียงที่ดีสำหรับการเริ่มต้นง่าย เพราะการปรับปรุงบ่อยมากก็มีแนวโน้มที่จะรวมถึงรุ่นล่าสุดของซอฟแวร์และมีการสนับสนุนที่ดีสำหรับภาษาที่แตกต่างกัน
13. OpenMandriva
เช่นเดียวกับ Mageia, OpenMandriva คือการกระจาย Linux ที่มีการจัดการบนพื้นฐานของ Mandrake และ Mandriva ก็พยายามที่จะให้ง่ายและตรงไปตรงมามากพอสำหรับผู้ใช้ใหม่ แต่ยังมีความกว้างและความลึกของความสามารถเพราะผู้ใช้งานขั้นสูงเค้าเรียกร้องมา (แหม่ ขนาดจะให้ใช้ง่าย ก็ยังจะให้ใช้ยากอีก)
14. Kubuntu
เป้าหมายของ Kubuntu คือการ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณเป็นมิตรกับคุณมากที่สุด และมันค่อนข้างง่ายสำหรับผู้ใช้ Linux หน้าใหม่ เพราะมันคือ Ubuntu ดีๆ นี่เอง แต่มีการเปลี่ยน DE (Desktop environment) จากเดิมเป็น Unity มาเป็น KDE จึงกลายเป็น K+Ubuntu = Kubuntu นั่นเอง
15. Netrunner
Netrunner มีพื้นฐานมาจาก Kubuntu แต่ปรับเปลี่ยนอินเตอร์เฟซบางอย่างที่ทำให้เป็นมิตรกับผู้ใช้มากยิ่งขึ้น และบางปลั๊กอินพวกเล่นไฟลืมีเดียต่างๆ ยังมีการปรับแต่งใหม่เพื่อให้ง่ายและดีกว่าเดิม โครงการนี้ยังมีรุ่นที่สองที่ใช้ปฏิบัติการเดียวกันคือ Manjaro
16. Kwheezy
Kwheezy พื้นฐานมาจาก Debian ซึ่งเป็นที่นิยมที่มีผู้ใช้ลินุกซ์ขั้นสูง แต่ก็ออกแบบให้ผู้ใช้หน้าใหม่สามารถจับต้องได้ มาพร้อมกับทุกการใช้งานปลั๊กอิน แบบอักษร และไดรเวอร์ ที่คุณต้องการสำหรับการใช้ชีวิตประจำวัน และอย่างอื่นอีกมาก และใช้ DE (Desktop environment) ของ KDE
17. Point Linux
พื้นฐานมากจาก Debian ใช้ DE (Desktop environment) แบบ Mate ทำให้รู้สึกสะดวกสบายมากที่สุด สำหรับผู้ใช้ Windows XP และอยากเปลี่ยนเป็น Linux ก็สามารถเรียนรู้ได้ไม่ยากน่ะจ๊ะ
18. Korora
ตัวนี้มีพื้นฐานมาจาก Fedora (ตัวโปรดผมเลย) Korara มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ลินุกซ์ได้ง่ายขึ้นสำหรับผู้ใช้ใหม่ และยังเป็นประโยชน์สำหรับผู้เชี่ยวชาญ แถมยังมี DE (Desktop environment) มีให้เลือกเยอะนะ ไม่ว่าจะเป็น Cinnamon, Gnome, XFCE, MATE, และ KDE
19. Ultimate Edition
เป็นการจับเจ้า Ubuntu มายำใหม่เพื่อให้มันสุดยอดและง่ายสำหรับมือใหม่ แถมยังปรับปรุงในส่วนของการบริหารจัดการซอฟต์แวร์ Ubuntu และความสามารถไร้สายอีกด้วยนะตัวเธอ…
20. Sabayon
สำหรับตัวนี้ก็ยังคงมุ่งเน้นเรื่องการใช้ที่ง่าย ไม่ว่าคุณจะเป็นมือใหม่หรือมือเก๋าก็สามารถเลือกนำไปใช้ได้ มี DE (Desktop environment) มีให้เลือกเยอะเลย คือ Gnome, KDE, LXDE และ XFCE รักใครชอบใครก็เลือกนำมาใช้เองนะครับ อ้อเกือบลืม ชื่อนี้ Linux ตัวนี้ได้มาจากขนมประเทศอิตาลี
21. Trisquel
Trisquel พัฒนามาจาก Ubuntu ที่ใช้มุ่งเป้าไปที่ผู้ใช้ที่บ้าน, ธุรกิจขนาดเล็กและโรงเรียน อินเตอร์เฟซคล้ายกับรูปลักษณ์ของ Windows แบบดั้งเดิมทำให้ความรู้สึกคล้ายกับ Windows XP หรือ Windows 7
22. Knoppix
ถ้าคุณต้องการเล่นลินุกซ์ โดยไม่ต้องติดตั้งอะไรในฮาร์ดไดรฟ์ของคุณ Knoppix สามารถทำงานจาก CD ได้สดๆ เลย คุณสามารถดาวน์โหลดอิเมจไฟล์และไรท์ใส่ CD ของคุณเอง หรือคุณจะสั่งซื้อ CD ของเจ้า Linux ตัวนี้ก็สามารถทำได้ ราคาไม่แพงมากเท่าไหร่นะ
For old Machine
23. Lubuntu
หากเครื่องคอมพิวเตอรของคุณเก่าวะจนรับการทำงานของ Windows XP ไม่ไหวแล้ว Lubuntu อาจเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคุณ เพราะมันเป็นรุ่นที่เบาของ Ubuntu เร็วและยังประหยัดพลังงานมาก
24. LXLE
เป็นการจับเจ้า Ubuntu และ Lubuntu มาปรับแต่งอีกที เพื่อมันทำงานได้รวกเร็วกว่าเดิม ใช้ DE (Desktop environment) แบบ LXDE
25. Peppermint
ยังคงพัฒนาจาก Lubuntu (เพราะเธอตัวเบามาก) Peppermint เป็นมิตรกับผู้ใช้ Linux หน้าใหม่ เพราะมันรวดเร็วมากและการใช้งานค่อนข้างจะง่ายมาก
26. Xubuntu
เหมือนๆ กันกับ Lubuntu คือ Xubuntu เป็นรุ่นที่มีน้ำหนักเบาของอูบุนตู ใช้อินเตอร์เฟซแบบ Xfce ซึ่งทันสมัยและใช้งานง่าย และยังทำงานได้ดีบนฮาร์ดแวร์เก่าๆ (แต่หนักกว่า Lubuntu นะจ๊ะ)
27. Elementary OS
ใบเว็บ DistroWatch Elementary OS เป็นหนึ่งในลินุกซ์ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดสิบอันดับ มันง่ายมาก มีน้ำหนักเบา รวดเร็ว และอินเตอร์เฟซในขณะที่ขึ้นคล้ายกับ OSX กว่า Windows XP
28. Joli OS
ระบบปฏิบัติการ Linux ที่มุ่งเน้นใช้งานแบบ Cloud Computing หรือ คอมพิวเตอร์กลุ่มเมฆ จุดมุ่งหมายเพื่อ นำคอมพิวเตอร์เก่าของคุณกลับมามีชีวิต นอกจากนี้คุณยังสามารถติดตั้งได้ควบคู่ไปกับ Windows ด้วยตัวเลือกในการเลือกระบบปฏิบัติการในการเริ่มต้น
29. Puppy
Linux ตัวนี้โคตรจะตัวเล็ก ซึ่งมีขนาดเล็กเพียง 85 MB เพื่อสามารถี่จะติดตั้งได้อย่างรวดเร็วมากที่สุด และทำงานได้อย่างรวดเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ
30. CrunchBang
ผมเคยลอง CrunchBang เมื่อไม่นาน มันเบาดีมาก ลื่นไหล (สัญลักษณ์ คือ #!) เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคอมพิวเตอร์เก่าๆ พัฒนามาจาก Debian ใช้ DE แบบ OpenBox
31. Simplicity
เป็นการจับเอา Puppy Linux มายำต่อ และมีรูปลักษณ์ที่ให้ความรู้สึกแตกต่างกันเล็กน้อย ใครที่มี Netbook ก็สามารถเอาเจ้านี่ไปลองดูได้ เพราะมันเบา และหน้าตางาม หรือจะเอามาลง Desktop (คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ) ก็ได้นะครับ
32. Bodhi Linux
Linux Bodhi ก็เป็นอีกตัวที่ได้ชื่อเรื่องความเบา เรียบง่าย แล้วยังเป็นมิตรสำหรับผู้ใช้ที่มีฮาร์ดแวร์เก่า แต่มันอาจจะไม่เป็นที่ดีสำหรับผู้ใช้ใหม่ที่ไม่ได้มีความคุ้นเคยกับการใช้งาน Opensource
33. Linux Lite
แค่ฟังชื่อ ก็รู้สึกว่ามันบางละ พัฒนามาจาก Ubuntu แถมยังเป็น LTS คือ Long Term Support ที่ยังดูแลสนับสนุนมากกว่ารุ่นปกติ เป็น DE แบบ Gnome
34. Tiny Core Linux
หากคุณมีจริงคอมพิวเตอร์ที่โคตรเก่าเลย ขนาดจะลง Windows 98 ME ยังลำบาก ผมแนะนำให้ลอง Tiny Core เพราะมันมีน้ำหนักเพียง 12MB (ไม่รู้จะเล็กไปไหน) แถมการใช้งานยังเป็นแบบ GUI ด้วยนะเธอ ถือว่าน่าสนใจมากสำหรับใครที่ต้องการปลุกชีพคอมเก่า
35. Antix
Antix อ้างว่า ตัวเค้าเอง ยังสามารถทำงานบนเก่า Ram 64 เมกะไบต์ CPU Pentium II 266 ได้ (แหม่ จะเก่าไปไหนเนี่ย) ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับผู้ใช้หน้าใหม่ ที่ต้องการความเบาไปใช้งาน
36. Damn Small Linux (DSL)
เพียง 50MB เท่านั้นสำหรับขนาดของ DSL ก็สามารถทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เก่า 486 หรือสามารถเรียกใช้ภายใน RAM ในเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่มีอย่างน้อย 128 MB หน่วยความจำ แถมยังสามารถบูตใช้โดยแผ่น CD หรือ Flash Drive ได้เลย
37. Nanolinux
ในการแข่งขันที่จะสร้าง Linux ที่เล็กที่สุด Nanolinux ก็จัดได้ว่าอยู่แถวบนๆ ของรายการ แม้ว่ามันจะขนาดเพียง 14 Mb ในขนาด 14 Mb นี้ถึง Text Editor, Spreadsheet, Personal Information Manager, Music Player, Calculator, บางเกมและบางโปรแกรม
38. VectorLinux
เค้าเรียกตัวเองว่าเป็นระบบปฏิบัติการ Linux ตัวเล็กๆ ที่ดีที่สุด สามารถใช้ได้ทุกที่ VectorLinux น้ำหนักเบา มีจุดมุ่งหมายใช้ได้อย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพมาก ซึ่งจะรวมถึงเครื่องมือที่จะเป็นที่นิยมกับผู้ใช้ขั้นสูง และก็ยังเป็น GUI ทำให้ง่ายสำหรับมือใหม่
39. ZenWalk
เดิมชื่อ “Minislack” ZenWalk ขนาดบางเบา มุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพการทำงานที่รวดเร็วและการสนับสนุนสำหรับมัลติมีเดีย ซึ่งจะรวมถึงบางส่วนคุณสมบัติพิเศษที่ดึงดูดความสนใจของโปรแกรมเมอร์และรุ่นท็อปยังสามารถ Tweaked ทำงานเป็นเซิร์ฟเวอร์ได้
40. Salix OS
Salix มีขนาดเล็กบางเบา พัฒนามาจาก Slackware มี DE ให้เลือกมากมาย คือ MATE, Xfce, Fluxbox, Openbox, KDE และ Ratpoison
For Business
41. Red Hat Enterprise Linux
เจ้าหมวกสีแดงน่าจะเป็นที่รู้จักมากที่สุดที่มุ่งเน้นการจัดการภายในองค์กรเป็นหลัก มีทั้งแบบติดตั้งแบบ Desktop และ Server แต่ที่แตกต่างจากหลายๆ Linux คือ คุณจะต้องจ่ายเงินเพื่อให้ได้มันมา และเค้าก็จะดูแลคุณเต็มที่ (แหงละ! ผมจ่ายคุณนิ)
42. Fedora
ถ้าคุณชอบหมวกสีแดง (Redhat) แต่ไม่ต้องการที่จะจ่ายเงินสำหรับการสนับสนุน ผมขอแนะนำให้ลองใช้ Fedora เป็นตัวที่ให้ใช้ฟรี (ตัวโปรแกรมผมเลย) มีให้เลือกเยอะมาก DE คือ Awesome, Cinnamon, Enlightenment, GNOME, KDE, LXDE, MATE, Openbox, Ratpoison และ Xfce ส่วนตัวผมใช้ Gnome ครับ
43. CentOS
CentOS ถือว่าระบบปฏิบัติการอีกหนึ่งรุ่นฟรีของ Red Hat โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะมีเสถียรภาพสูงและการจัดการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ทางธุรกิจโดยไม่ต้องให้พวกเขาซื้อสนับสนุนหรือเสียเงินซื้อนั่นเอง
44. SUSE
มากกว่า 13,000 ธุรกิจทั่วโลกที่ใช้ SUSE ขนาดตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนก็ยังใช้เลย ในหมู่ผู้ใช้เว็บไซต์ส่วนใหญ่ที่เน้นรุ่นเซิร์ฟเวอร์ แต่ก็จ่ายเงินเพื่อให้ได้มาเช่นเดียวกับเจ้าหมวกแดง (Redhat) แต่ถ้าอยากใช้ฟรีลองหา OpenSUSE มาเล่นดูนะครับ
45. openSUSE
OpenSUSE เป็นรุ่นฟรีของ Linux SUSE สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการเสียงเงินซื้อ มีทั้งเดสก์ทอปและเซิร์ฟเวอร์รุ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เริ่มต้นและผู้ใช้ขั้นสูง มี DE ให้เลือกเยอะดีนะ ไม่ว่าจะเป็น Blackbox, GNOME, IceWM, KDE, LXDE, Openbox, WMaker และ Xfce ใครชอบแบบไหนก็ไปลองใช้กันได้ครับ
46. Chromium
โครเมียมเป็นโครงการที่มาเปิดที่อยู่เบื้องหลังของ Google Chrome OS ระบบปฏิบัติการที่ใช้บนอุปกรณ์ Chromebook และมันเป็นเรื่องที่ดีมากๆ สำหรับผู้ใช้ที่ใช้บริการคลาวด์ของ Google อยู่แล้ว เพราะจะใช้มันได้เต็มประสิทธิภาพมากๆ
Other OS
47. PC-BSD
ใครที่ไม่อยากใช้ระบบปฏิบัติการที่ไม่ได้มีพื้นฐานมาจาก Linux ก็ลอง PC-BSD เพราะมันพัฒนามาจาก FreeBSD และเจ้า PC-BSD นี้ก็ขึ้นชื่อเรื่องความใช้ง่าย (ง่ายแล้วหรอเนี่ย) ยังสามารถกับคอมพิวเตอร์เก่าๆ ได้ ใช้ DE ของ KDE สวยงามเลยทีเดียว
48. ReactOS
ReactOS แตกต่างจากระบบปฏิบัติการอื่น ๆ ในรายการนี้ เพราะ ReactOS ไม่ใช่ Linux และไม่ใช่ BSD แต่มันเป็นระบบปฏิบัติการใหม่ฟรีอย่างสมบูรณ์ ออกแบบมาให้ผู้ที่เคยใช้ Windows มาก่อนสามารถใช้ได้ไม่ยาก ถึงแม้ตอนนี้จะยังเป็นไข่อยู่ (Alpha) แต่ก็ยังมีความหวังที่จะได้ใช้มัน
Other app
49. Wine
Wine (ซึ่งย่อมาจาก “Wine is not an emulator”) ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรแกรมของฝั่ง Windows บนระบบ Unix-based รวมถึง Linux และ OS X ได้ มันมีประสิทธิภาพการทำงานที่รวดเร็วและมีเสถียรภาพที่ดีเยี่ยม
50. QEMU
จำลองนี้สามารถเรียกใช้โปรแกรมที่สร้างขึ้นสำหรับระบบปฏิบัติการใดๆ บนระบบปฏิบัติการอื่น ๆ ในคำอื่น ๆ ที่คุณสามารถใช้มันเพื่อเรียกใช้ซอฟต์แวร์ของ Windows XP บนระบบลินุกซ์หรือการใช้งานลินุกซ์บน Windows มันเป็นเรื่องที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้ที่มีประสบการณ์มากขึ้น น้อยคนที่เข้าใจในทางเทคนิคอาจจะติดกับไวน์ เนื้อหาทั้งหมดนี้ถูกเรียบเรียงโดยเว็บ Linuxquestions ผมแค่นำมันมาแปลและทำให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น สำหรับใครที่อ่านแล้วยังงงๆ ก็ขออภัยด้วยนะครับ บางอย่างอาจจะแปลไม่ตรงนัก แต่ก็อยากจะนำมาฝากทุกท่านจริงๆ สำหรับใครที่ยังลังเลเรื่องการเลือกใช้ Linux ผมหวังว่า คงจะได้แนวทางเลือกใช้ Linux ที่เหมาะสมและเข้ากับตัวเองบ้างแล้วนะครับ สำหรับบทความนี้ก็ขอจบลงไปเพียงเท่านี้ แล้วพบกันบทความต่อไป สวัสดีครับ.